ขั้นตอนในการฝึกหัดและเรียนรู้กีตาร์

 

            ดังที่ผมได้เคยพูดไว้แล้วว่าผมเองนั้นเริ่มหัดกีตาร์จากศูนย์จริง ๆ ผมจึงอยากจะได้บอกขั้นตอนการเรียนรู้ของผม อย่างน้อยอาจจะเป็นแนวทางสำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากจะลองฝึกเล่นกีตาร์ด้วยตนเองดู ลองมาดูซิครับว่าเราควรทำอะไรบ้างกับการฝึกกีตาร์

            1. คุณต้องมีความรู้สึกว่าอยากจะเล่นจริง ๆ อย่างน้อยอาจจะมีแนวเพลงในดวงใจ หรือศิลปินที่อยากจะเล่นให้ได้เหมือนเขา เพราะจะทำให้มีกำลังใจในการฝึก แต่อย่าอคติกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนะครับเช่นไม่ชอบตีคอร์ดจะเล่นลี๊ดอย่างเดียว หรือจะหัดแต่เพลงหนัก ๆ โดยไม่แคร์ถึงพื้นฐานที่ควรรู้มาถึงจะเล่นอย่างนั้นอย่างนี้ให้ได้ดังใจเลย จำไว้ครับนับเลขก็ต้องเริ่มจากศูนย์ก่อนจะไปเป็นหนึ่ง..สอง...สาม ใจเย็น ๆ อย่ารีบร้อน ค่อย ๆ ฝึกฝนหาความรู้เพิ่มเติมเรื่อย ๆ ดีกว่าครับ

            2. คุณต้องมีกีตาร์เป็นของตัวเอง เพื่อสะดวกในการฝึกหัด ดูเรื่องการเลือกซื้อกีตาร์ได้ในการเลือกซื้อกีตาร์และสายกีตาร์ นอกจากนี้รวมถึงอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เท่าที่จำเป็นเช่น ปิ๊ค, ถุงหรือกล่องใส่กีตาร์, น้ำยาและผ้าเพื่อทำความสะอาด เป็นต้น ดูรายละเอียดเรื่องอุปกรณ์เสริมในการเล่นกีตาร์ได้ครับ

            3. มีความรู้เบื้องต้นในการตั้งสายก่อน เพราะถ้าสายคุ้นเพี้ยนเล่นยังไงก็ไม่เพราะแน่ครับ จึงต้องมีความรู้ในการตั้งสายแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตั้งด้วยมือเปล่าหรือการใช้เครื่องตั้งสายช่วยก็ตาม และเมื่อเป็นแล้วสิ่งหนึ่งที่ควรทำเสมอคือทุกครั้งที่คุณหยิบกีตาร์มาเล่นควรจะเช็คเสียงก่อนว่าเพี้ยนมั๊ยถ้าเพี้ยนก็ตั้งใหม่ เพราะสิ่งนี้จะฝึกให้คุณคุ้นเคยกับเสียงของแต่ละสาย ซึ่งจะทำให้คุณตั้งสายได้รวดเร็วขึ้น ได้เสียงที่ถูกต้องสมบูรณ และยังมีประโยชน์ต่อไปในการแกะเพลงอีกด้วย รวมถึงการศึกษาคอร์ดเบื้องต้นต่าง ๆ เช่น C, Am, Dm, G7 เป็นต้นอาจจะดูจากหนังสือเพลงว่าจับอย่างไรใช้นิ้วไหนจับวางนิ้วยังไง ขั้นแรกไม่ต้องสนใจคอร์ดอื่น ๆ ฝึกแค่ 3 - 4 คอร์ดให้คุ้นเคยก่อน หาเพลงที่ประกอบด้วยคอร์ดง่าย ๆ ดังกล่าวเล่น

            4. จากนั้นฝึกตีคอร์ดแบบง่าย ๆ ก่อนกับเพลงง่าย ๆ ที่ใช้คอร์ดที่เรารู้จักและจับไม่ยาก ช่วงนี้เองคุณก็ถือโอกาสหัดจับคอร์ดอื่น ๆ ที่ยังไม่รู้จักด้วยเลย ฝึกการตีคอร์ดให้สัมพันธ์กับการเปลี่ยนคอร์ดและจังหวะของเพลง ค่อย ๆ ฝึกไปเรื่อย ๆ วันนี้ไม่ได้พรุ่งนี้เอาใหม่ เดี๋ยวก็ได้เองครับ

            5. เมื่อเริ่มคุ้นเคยกับการจับคอร์ด การตีคอร์ดแล้วผมแนะนำให้หาหนังสือมาฝึกเล่มแรกที่ผมใช้คือ "PICKING" เล่มหนา ๆ แล้วก็พวก หนังสือในเครือเพื่อนนักกีตาร์อีกหลาย ๆ เล่ม ซึ่งบางเล่มก็มีเทปให้ด้วย

                แต่ในปัจจุบันมีการทำ CD-ROM สอนกีตาร์มากมายของไทยที่ผมเห็นก็มีของ อ. แดง มี 3 ภาค นอกจากนี้ก็ยังมีของฝรั่งอีกหลายแบบ เพื่อน ๆ ลองไปดูที่พันธิพย์ก็ได้ถ้าสนใจ สิ่งนี้สำคัญมากครับ ความรู้มีอยู่ทั่ว ๆ ไปพยายามหามา เก็บเกี่ยวมาไว้กับเราครับ เมื่อเราไม่สามารถไปเรียนได้ก็ต้องใช้วิธีนี้ อย่าดูถูกคนอื่นครับเขาอาจจะเล่นไม่เก่งเหมือนเราแต่เขาอาจจะมีแนวคิดอะไรบางอย่างที่เป็นประโยชน์ก็ได้ ดังนั้นอย่าปิดกั้นตัวเอง อย่าอคติกับคนอื่น

            6. เมื่อคุณคุ้นเคยกับการตีคอร์ดพอสมควรแล้ว (หมายถึงคุ้นกับจังหวะการดีดการเปลี่ยนคอร์ด) จึงเริ่มหัดเกาได้หัดจาก pattern ง่าย ๆ ก่อนเพื่อให้นิ้วต่าง ๆ ของคุณคุ้นเคยกับการดีดเกี่ยวสายกีตาร์แต่ละสายอย่างเป็นธรรมชาติ

                หาเพลงง่าย ๆ ฝึกก่อนโดยเพลงเดียวกันนี้อาจจะลองเปลี่ยน pattern การดีดดูเพื่อให้คุ้นกับจังหวะการเกาแต่ละแบบ แล้วจึงหัดในรูปแบบที่ยากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาจากหนังสือหรือสื่อต่าง ๆ อย่างไรก็ตามควรเริ่มจากพื้นฐานก่อน จากนั้นจึงเริ่มฝึกเทคนิคต่าง ๆ เช่น hammer on, pull off, slide การดันสาย ทำเสียงสั่นรัว การเล่นฮาร์โมนิคเป็นต้น

            7. ต่อมาเราจะเข้าใจถึงการจับคอร์ดการดีดหรือเกากีตาร์เบื้องต้นแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาคือการศึกษาทฤษฎีดนตรี อย่างน้อยคุณควรรู้จักโน๊ตดนตรีเบื้องต้น เพื่อจะได้เข้าใจกีตาร์มากขึ้น หมายถึงว่ารู้จักโน๊ตสายกีตาร์แต่ละเส้นในแต่ละเฟร็ตว่าเป็นโน๊ตอะไร ซึ่งต่อไปจะมีประโยชน์มากในการแกะเพลง หรือศึกษาขั้นสูงต่อไป

            8. นอกจากโน็ตสากลแล้ว อีกอย่างหนึ่งที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุดในการฝึกกีตาร์ด้วยตนเองคือการฝึกอ่านระบบ Tablature ซึ่งง่ายกว่าการอ่านโน๊ตมาก และสามารถหาได้ง่ายในปัจจุบัน ฝึกให้คุ้นเคยการอ่าน tab แปลความหมายของตัวเลขมาเป็นการวางนิ้วและการดีดและ การอ่านจังหวะ(ได้จากเรื่องทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น) รวมถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ใน tab

            9. พยายามศึกษาทฤษฎีดนตรีที่เกี่ยวกับกีตาร์ให้มากขึ้นเช่นเรื่องของ สเกล, Mode โครงสร้างของคอร์ด  Harmony เป็นต้นแต่แบบค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปนะครับ ต้องยอมรับอย่างนึงว่าการฝึกด้วยตนเองมันจะไม่เร็วเหมือนกับเรียนตามโรงเรียน..แต่ก็ไม่แน่ครับ ถ้าขยันและตั้งใจจริงซะอย่าง

            10. ทั้งหมดก็เป็นขั้นตอนแบบคร่าว ๆ ในการฝึกกีตาร์แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นอยู่ที่ความตั้งใจจริงของคุณ ความเอาจริงเอาจัง และต้องฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ โดยผมจะสรุปว่า

- ต้องมีความรักที่จะเล่นกีตาร์

- ต้องมีความตั้งใจจริงและขยันฝึกซ้อม

- ต้องเอาใจใส่ในการฝึกซ้อม ใฝ่รู้ ศึกษาทฤษฎีต่าง ๆ แล้วนำมาใช้

- สำรวจตัวเองว่าควรปรับปรุงแก้ไขตรงไหนบ้าง

- ศึกษาสไตล์และรูปแบบการเล่นของผู้อื่นแล้วลองมาฝึกด้วยตัวเอง

- ต้องไม่หยุดนิ่งพยายามหาความรู้ใหม่ ๆ จากสื่อต่าง ๆ (โดยเฉพาะใน cyber space นี้)

           

           mood9[1].gif (180 bytes) ผมเชื่อเหลือเกินครับถ้าคุณทำได้อย่างนี้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ไม่นานครับคุณจะเล่นกีตาร์ได้อย่างน่าพอใจเลย ขอแค่อย่าเพิ่งท้อแท้เบื่อหน่ายกับการเริ่มต้น คุณจะประสบความสำเร็จแน่ ๆ ผมจะเอาใจช่วยเต็มที่ครับ

กลับไปหน้าหลัก

ขั้นตอนในการฝึกหัดและเรียนรู้เรื่องกีตาร์ (ของผมเอง)

ขั้นตอนในการฝึกหัดและเรียนรู้กีตาร์

 

            ดังที่ผมได้เคยพูดไว้แล้วว่าผมเองนั้นเริ่มหัดกีตาร์จากศูนย์จริง ๆ ผมจึงอยากจะได้บอกขั้นตอนการเรียนรู้ของผม อย่างน้อยอาจจะเป็นแนวทางสำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากจะลองฝึกเล่นกีตาร์ด้วยตนเองดู ลองมาดูซิครับว่าเราควรทำอะไรบ้างกับการฝึกกีตาร์

            1. คุณต้องมีความรู้สึกว่าอยากจะเล่นจริง ๆ อย่างน้อยอาจจะมีแนวเพลงในดวงใจ หรือศิลปินที่อยากจะเล่นให้ได้เหมือนเขา เพราะจะทำให้มีกำลังใจในการฝึก แต่อย่าอคติกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนะครับเช่นไม่ชอบตีคอร์ดจะเล่นลี๊ดอย่างเดียว หรือจะหัดแต่เพลงหนัก ๆ โดยไม่แคร์ถึงพื้นฐานที่ควรรู้มาถึงจะเล่นอย่างนั้นอย่างนี้ให้ได้ดังใจเลย จำไว้ครับนับเลขก็ต้องเริ่มจากศูนย์ก่อนจะไปเป็นหนึ่ง..สอง...สาม ใจเย็น ๆ อย่ารีบร้อน ค่อย ๆ ฝึกฝนหาความรู้เพิ่มเติมเรื่อย ๆ ดีกว่าครับ

            2. คุณต้องมีกีตาร์เป็นของตัวเอง เพื่อสะดวกในการฝึกหัด ดูเรื่องการเลือกซื้อกีตาร์ได้ในการเลือกซื้อกีตาร์และสายกีตาร์ นอกจากนี้รวมถึงอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เท่าที่จำเป็นเช่น ปิ๊ค, ถุงหรือกล่องใส่กีตาร์, น้ำยาและผ้าเพื่อทำความสะอาด เป็นต้น ดูรายละเอียดเรื่องอุปกรณ์เสริมในการเล่นกีตาร์ได้ครับ

            3. มีความรู้เบื้องต้นในการตั้งสายก่อน เพราะถ้าสายคุ้นเพี้ยนเล่นยังไงก็ไม่เพราะแน่ครับ จึงต้องมีความรู้ในการตั้งสายแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตั้งด้วยมือเปล่าหรือการใช้เครื่องตั้งสายช่วยก็ตาม และเมื่อเป็นแล้วสิ่งหนึ่งที่ควรทำเสมอคือทุกครั้งที่คุณหยิบกีตาร์มาเล่นควรจะเช็คเสียงก่อนว่าเพี้ยนมั๊ยถ้าเพี้ยนก็ตั้งใหม่ เพราะสิ่งนี้จะฝึกให้คุณคุ้นเคยกับเสียงของแต่ละสาย ซึ่งจะทำให้คุณตั้งสายได้รวดเร็วขึ้น ได้เสียงที่ถูกต้องสมบูรณ และยังมีประโยชน์ต่อไปในการแกะเพลงอีกด้วย รวมถึงการศึกษาคอร์ดเบื้องต้นต่าง ๆ เช่น C, Am, Dm, G7 เป็นต้นอาจจะดูจากหนังสือเพลงว่าจับอย่างไรใช้นิ้วไหนจับวางนิ้วยังไง ขั้นแรกไม่ต้องสนใจคอร์ดอื่น ๆ ฝึกแค่ 3 - 4 คอร์ดให้คุ้นเคยก่อน หาเพลงที่ประกอบด้วยคอร์ดง่าย ๆ ดังกล่าวเล่น

            4. จากนั้นฝึกตีคอร์ดแบบง่าย ๆ ก่อนกับเพลงง่าย ๆ ที่ใช้คอร์ดที่เรารู้จักและจับไม่ยาก ช่วงนี้เองคุณก็ถือโอกาสหัดจับคอร์ดอื่น ๆ ที่ยังไม่รู้จักด้วยเลย ฝึกการตีคอร์ดให้สัมพันธ์กับการเปลี่ยนคอร์ดและจังหวะของเพลง ค่อย ๆ ฝึกไปเรื่อย ๆ วันนี้ไม่ได้พรุ่งนี้เอาใหม่ เดี๋ยวก็ได้เองครับ

            ขั้นตอนในการฝึกหัดและเรียนรู้เรื่องกีตาร์ (ของผมเอง)

ขั้นตอนในการฝึกหัดและเรียนรู้กีตาร์

 

            ดังที่ผมได้เคยพูดไว้แล้วว่าผมเองนั้นเริ่มหัดกีตาร์จากศูนย์จริง ๆ ผมจึงอยากจะได้บอกขั้นตอนการเรียนรู้ของผม อย่างน้อยอาจจะเป็นแนวทางสำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากจะลองฝึกเล่นกีตาร์ด้วยตนเองดู ลองมาดูซิครับว่าเราควรทำอะไรบ้างกับการฝึกกีตาร์

            1. คุณต้องมีความรู้สึกว่าอยากจะเล่นจริง ๆ อย่างน้อยอาจจะมีแนวเพลงในดวงใจ หรือศิลปินที่อยากจะเล่นให้ได้เหมือนเขา เพราะจะทำให้มีกำลังใจในการฝึก แต่อย่าอคติกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนะครับเช่นไม่ชอบตีคอร์ดจะเล่นลี๊ดอย่างเดียว หรือจะหัดแต่เพลงหนัก ๆ โดยไม่แคร์ถึงพื้นฐานที่ควรรู้มาถึงจะเล่นอย่างนั้นอย่างนี้ให้ได้ดังใจเลย จำไว้ครับนับเลขก็ต้องเริ่มจากศูนย์ก่อนจะไปเป็นหนึ่ง..สอง...สาม ใจเย็น ๆ อย่ารีบร้อน ค่อย ๆ ฝึกฝนหาความรู้เพิ่มเติมเรื่อย ๆ ดีกว่าครับ

            2. คุณต้องมีกีตาร์เป็นของตัวเอง เพื่อสะดวกในการฝึกหัด ดูเรื่องการเลือกซื้อกีตาร์ได้ในการเลือกซื้อกีตาร์และสายกีตาร์ นอกจากนี้รวมถึงอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เท่าที่จำเป็นเช่น ปิ๊ค, ถุงหรือกล่องใส่กีตาร์, น้ำยาและผ้าเพื่อทำความสะอาด เป็นต้น ดูรายละเอียดเรื่องอุปกรณ์เสริมในการเล่นกีตาร์ได้ครับ

            3. มีความรู้เบื้องต้นในการตั้งสายก่อน เพราะถ้าสายคุ้นเพี้ยนเล่นยังไงก็ไม่เพราะแน่ครับ จึงต้องมีความรู้ในการตั้งสายแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตั้งด้วยมือเปล่าหรือการใช้เครื่องตั้งสายช่วยก็ตาม และเมื่อเป็นแล้วสิ่งหนึ่งที่ควรทำเสมอคือทุกครั้งที่คุณหยิบกีตาร์มาเล่นควรจะเช็คเสียงก่อนว่าเพี้ยนมั๊ยถ้าเพี้ยนก็ตั้งใหม่ เพราะสิ่งนี้จะฝึกให้คุณคุ้นเคยกับเสียงของแต่ละสาย ซึ่งจะทำให้คุณตั้งสายได้รวดเร็วขึ้น ได้เสียงที่ถูกต้องสมบูรณ และยังมีประโยชน์ต่อไปในการแกะเพลงอีกด้วย รวมถึงการศึกษาคอร์ดเบื้องต้นต่าง ๆ เช่น C, Am, Dm, G7 เป็นต้นอาจจะดูจากหนังสือเพลงว่าจับอย่างไรใช้นิ้วไหนจับวางนิ้วยังไง ขั้นแรกไม่ต้องสนใจคอร์ดอื่น ๆ ฝึกแค่ 3 - 4 คอร์ดให้คุ้นเคยก่อน หาเพลงที่ประกอบด้วยคอร์ดง่าย ๆ ดังกล่าวเล่น

            4. จากนั้นฝึกตีคอร์ดแบบง่าย ๆ ก่อนกับเพลงง่าย ๆ ที่ใช้คอร์ดที่เรารู้จักและจับไม่ยาก ช่วงนี้เองคุณก็ถือโอกาสหัดจับคอร์ดอื่น ๆ ที่ยังไม่รู้จักด้วยเลย ฝึกการตีคอร์ดให้สัมพันธ์กับการเปลี่ยนคอร์ดและจังหวะของเพลง ค่อย ๆ ฝึกไปเรื่อย ๆ วันนี้ไม่ได้พรุ่งนี้เอาใหม่ เดี๋ยวก็ได้เองครับ