มากีตาร์กันดีกว่า

 

             ก่อนที่เราจะมาเริ่มเฃ่นกีตาร์กัน เราควรจะมีกีตาร์เป็นของตัวเองก่อน และในส่วนนี้ผมจะได้แนะนำในเรื่องของการเลือกซื้อกีตาร์ การเลือกซื้อสายกีตาร์ การใส่สายกีตาร์ และการตั้งสายกีตาร์ เมื่อเรามีกีตาร์ ตั้งสายเรียบร้อยแล้ว เราถึงจะมาเริ่มฝึกกัน

            ในหัวข้อนี้จะประกอบด้วย

                1. การเลือกซื้อกีตาร์และสายกีตาร

                    1.1 การเลือกซื้อกีตาร์

                    1.2 การเลือกซื้อสายกีตาร์

                *การใส่สายกีตาร์

                    - การใส่สายกีตาร์คลาสสิก

                    - การใส่สายกีตาร์โฟล์ค

              2. การตั้งสายกีตาร

              3. การระวังและดูแลรักษากีตาร

                                                   

     1. การเลือกซื้อกีตาร์และสายกีตารมันมีความจำเป็นอย่างมากที่คุณควรจะมีกีตาร์เป็นของตัวเองถ้าคุณอยากจะเล่นกีตาร์เป็น ในบ้านเรามีกีตาร์ขายมากมายหลายแบบราคานั้นมีตั้งแต่ไม่ถึงพันบาท จนกระทั่งราคาเป็นแสนก็มี ซึ่งแหล่งใหญ่ก็มีแถวหลังกระทรวง แถวเวิ้งนาครเขษม หรือตามแผนกเครื่องดนตรีของห้างสรรพสินค้าทั่วไปก็มี ทีนี้เรามาดูซิว่าเราควรเลือกซื้อกีตาร์อย่างไร

          1.1 การเลือกซื้อกีตาร์

               ดังที่ได้กล่าวมาแล้วกีตาร์ที่วางขายมีมากมายหลายแบบและระดับราคาต่าง ๆ กัน ผมอยากจะบอกว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการซื้อกีตาร์คือซื้อตัวที่คุณชอบที่สุดทั้งในด้านของรูปร่างรูปทรง และเสียงของมันซึ่งถ้าคุณเลือกกีตาร์ที่คุณชอบจริง ๆ มันจะทำให้คุณรักมันและมีความสุขที่จะหัดมากกว่าการที่ซื้อตามชาวบ้านเขาโดยไม่สนใจว่ามันจะเหมาะกับคุณหรือไม่ ส่วนหลักใหญ่ ๆ ในการเลือกซื้อกีตาร์ก็ได้แก่

             1) เลือกดูรุ่นที่คุณสนใจที่สุดอาจจะเป็นกีตาร์คลาสสิกที่เป็นสายไนล่อนสำหรับผู้ที่อยากเล่นกีตาร์คลาสสิก(ซึ่งควรจะไปเรียนกับโรงเรียนจะดีกว่าฝึกเอง) หรือกีตาร์โฟล์คสำหรับเล่นเพลงทั่วไป ซึ่งยังมีขนาดและรูปทรงต่าง ๆให้เลือกจากนั้นจึงดูรายละเอียดโดยรวม ได้แก่ ลักษณะทั่ว ๆ ไปเช่นมีรอยบุบ สีถลอก หรือรอยแตกหักต่าง ๆ บนตัวกีตาร์หรือไม่ ความเรียบร้อยของการทำสี จุดต่อต่าง ๆ ต้องไม่มีรอยปริแตก ดูที่ลายไม้ยิ่งลายไม้ขนานกันมาก และมีลายถี่มาก ๆ จะมีความแข็งแรง ควรหลีกเลี่ยงประเภทที่มีตาไม้

               2) ดูว่าคอกีตาร์ตรงหรือไม่อาจสังเกตง่าย ๆ โดยกดสายกีตาร์ที่ช่อง 1 และอีกมือกดที่ช่อง 19 ของสายเดียวกันแล้วสังเกตว่าระยะห่างระหว่างสายกีตาร์กับเฟร็ตทุกเฟร็ตจะต้องเท่ากัน นอกจากนี้ก็ดูที่เฟร็ตว่าประกอบเรียบร้อยหรือไม่บิดเบี้ยวมั๊ย บนฟิงเกอร์บอร์ดมีรอยแตกมั๊ย และระยะจากนัทไปยังเฟร็ต 12 กับระยะจากเฟร็ต 12 ไปถึงสะพานสายจะต้องมีระยะเท่ากัน ถ้าดูภาดตัดขวางคอกีตาร์จะมีทั้งแบบราบเรียบและแบบที่โค้งเล็กน้อยให้รับกับนิ้วมือก็ลองดูว่าคุณชอบแบบไหน

               3) ลองหมุนลูกบิดดูว่าลื่นมั๊ยล็อคสายอยู่มั๊ยมีคราบสนิม หรือร่องรอยถลอกหรือเปล่า มีการคดงอมั๊ย เช็คดูทั้ง 6 ตัว

               4) ตรวจสอบที่นัทและบริดจ์ ว่าสมบูรณ์หรือไม่รอยต่อสนิทมั๊ย และตัวพินยึดสายกีตาร์ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์

               5) คราวนี้ก็ลองกดสายกีตาร์ดูว่ากดยากมั้ยสูงต่ำไปมั๊ย หมายถึงระยะแอ็คชั่นคือระยะระหว่างสายกับฟิงเกอร์บอร์ดควรสูงประมาณ 2 มม.ที่ช่องที่ 1 บนฟิงเกอร์บอร์ด

               6) ลองดีดสายดูว่าเสียงเป็นที่น่าพอใจคุณมั๊ย มีเสียงประหลาดแทรกระหว่างดีดมั๊ย เช็คเสียงฮาโมนิคว่าสมบูรณ์มั๊ยคือเสียงต้องปิ๊งและไม่มีเสียงประหลาดสอดแทรกมาโดยการดีดสายเปล่าแล้วใช้นิ้วมือแตะเบา ๆ เหนือเฟร็ตที่ 12 ของสายเดียวกันแล้วดีดดูจะได้เสียงที่เป็นเสียงเดียวกันกับที่ดีดสายเปล่าแต่ระดับเสียงจะสูงกว่า ลองเช็คทุก ๆ สาย

               7) ถ้าเป็นกีตาร์โปร่งไฟฟ้า คุณจะต้องทดสอบระบบของมันด้วยว่าเวิคมั๊ยลองเสียบแอมป์เล่นจริง ๆ ลองปรับปุ่มคอนโทรลต่าง ๆ และสังเกตเสียงที่ได้เมื่อต่อเข้าแอมป์ว่าผิดเพี้ยนไปมั้ย

               8) ถ้าเป็นกีตาร์ไฟฟ้าหลักโดยรวมก็เหมือนกับด้านบน แต่สิ่งที่ต้องเช็คอื่น ๆ ได้แก่ระบบคันโยกสมบูรณ์หรือไม่ลองใช้ดู จุดที่ขันน๊อต สกรูต้องแน่น ทดสอบต่อกับแอมป์และลองเล่นดูลองเปลี่ยนไปใช้ปิคอัฟแต่ละตัวว่าทำงานปกติมั๊ย รวมถึงปุ่มคอนโทรลต่าง ๆ

          **** อย่างหนึ่งที่คุณควรจะรู้ไว้คือไม่มีกีตาร์ตัวไหนที่เพอเฟ็ค 100 % สามารถเล่นได้ทุกสไตล์ในโลก กีตาร์ตัวนี้อาจเหมาะกับเพลงนี้ แต่ไม่เหมาะกับอีกเพลงเป็นต้นเช่นเวลาคุณดูคอนเสิร์ทนักดนตรีบางคนหรือบางคณะใช้กีตาร์เปลืองมากเพลงนึงก็ตัวนึงเป็นต้นดังนั้นคุณควรจะรู้ว่าคุณอยากเล่นเพลงแบบไหน หรือชอบเสียงกีตาร์แบบไหนให้เลือกแบบที่คุณชอบก็พอ

          1.2 การเลือกซื้อสายกีตาร์ สายกีตาร์ก็จะมีหลายแบบหลายขนาดเช่นกัน กีตาร์แต่ละประเภทก็จะใช้สายไม่เหมือนกันดังนั้นคุณควรจะใช้สายกีตาร์ให้เหมาะกับกีตาร์ของคุณดีกว่า

               1.2.1 สายกีตาร์คลาสสิก ยุคก่อนจะใช้สายเอ็น (gut string) แต่ปัจจุบันได้ใช้เป็นสายไนล่อน โดยที่ 3 สายล่างจะเป็นสายเปลือย และ 3 สายบนจะเป็นพวกใยไหมหรือไนล่อนพันด้วยเส้นโลหะจำพวกเงิน หรือบรอนซ์ เป็นต้น ซึ่งทำมาสำหรับใช้กับกีตาร์คลาสสิกโดยเฉพาะ ถ้าคุณนำสายที่เป็นโลหะมาใช้นอกจากเสียงที่ได้จะไม่ดีแล้วกีตาร์คูณจะพังด้วยเพราะสายไนล่อนมีแรงดึงต่ำกว่าสายโลหะมากและกีตาร์คลาสสิกออกแบบมาให้รับแรงตึงของสายไนล่อน

string.gif (30965 bytes)

               1.2.2 สายกีตาร์โฟล์ค จะเป็นสายโลหะโดยที่ 2 หรือ 3 สายล่างจะเป็นสายเปลือย และสายที่เหลือหรือสายเบสจะเป็นสายที่แกนเป็นโลหะมีเส้นบรอนซ์พันอยู่มีอยูหลายขนาดเหลือเกินแต่ที่เหมาะสำหรับฝึกหัดใหม่ ๆ ควรเลือกชุดที่ไม่ใหญ่จนเกินไปเช่นชุดที่มีสาย 1 ขนาด .009 ซึ่ง 3 สายล่างจะเป็นสายเปลือย และ 3 สายบนจะเป็นสายพัน

               1.2.3 สายกีตาร์ไฟฟ้า เป็นโลหะเช่นเดียวกับสายกีตาร์โปร่งแต่จะใช้นิเกิลแทนบรอนซ์ซึ่งนิเกิลจะมีผลดีเมื่อใช้กับปิคอัฟหรือระบบแม่เหล็กไฟฟ้านั่นเอง แต่เสียงจะทึบกว่าสายที่ทำจากบรอนซ์ แต่จะนุ่มมือกว่าเวลาจับคอร์ด ซึ่งบางทีก็สามารถใช้สายกีตาร์ไฟฟ้ากับกีตาร์โปร่งได้เพื่อลดความเจ็บนิ้ว

 

       การใส่สายกีตาร์ บางทีสายที่ติดมากับกีตาร์ อาจจะเก่าจนเป็นสนิมหรือขนาดสายไม่ถูกใจเราเช่นใหญ่หรือเล็กไปเราก็อาจจะเปลี่ยนสายใหม่เรามาดูวิธีการใส่สายกีตาร์กันนะครับ

            1. การใส่สายกีตาร์คลาสสิก สายกีตาร์คลาสสิกนี้จะไม่มีหมุดที่ปลายสายที่จะใช้ยึดสายดังนั้นการที่จะยึดสายจึงต้องใช้วิธีพันกับสะพานสาย โดย

            - สอดสายลงจากด้านบนให้ปลายโผล่มาพอสมควร(พอที่จะพันได้ประมาณ 5 - 7 cm. ทั้งนี้แล้วแต่คุณสังเกตเองให้เหมาะสม)

            - จับปลายที่โผล่ด้านล่างขึ้นมาสอดอ้อมใต้สายที่ด้านสอดเข้าแล้วสอดปลายสายเข้าไปในห่วงที่เกิดขึ้น

            - สำหรับสายเบส (6, 5, 4) อาจจะสอดเพียง 1 - 2 รอบ แต่สาย 1, 2, 3 ควรจะสอดแล้ววนมาสอดใหม่อีก 2 - 3 รอบเพื่อกันสายคลายเวลาตั้งสายหรืออาจจะผูกปมเอาไว้ก่อนก็ได้

classic-s1.gif (4614 bytes)

            - จากนั้นสอดปลายอีกด้านไปในแกนของลูกบิดใช้ปลายสายสอดไปใต้สายก่อนที่จะขึ้นสาย ดังรูปclassic-s2.gif (3344 bytes)classic-s3.gif (4901 bytes)

            2. การใส่สายกีตาร์โฟล์ค ค่อนข้างจะง่ายกว่ากีตาร์คลาสสิกเพราะสายจะเป็นแบบหมุดยึดไม่ต้องพันสายกับสะพานสายมีขั้นตอนดังนี้

            - ถ้าเป็นสะพานสายแบบใช้หมุดยึด(pin) ก็ดึงหมุดนั้นออกใส่สายใหม่เข้าไปโดยสอดด้านที่มีหมุดเข้าไปในช่อง จากนั้นจึงใส่หมุดตามลงไป และกดให้แน่น

            - ถ้าเป็นสะพานสายแบบไม่ใช้หมุดยึดเช่นแบบ Ovation ก็เพียงแต่สอดสายจากด้านล่างของสะพานขึ้นมาเท่านั้นเอง

             - จากนั้นจึงจับปลายสายนั้นขึ้นไปสอดที่แกนลูกบิดแล้วสอดไปใต้ตัวมันเองอีกทีเช่นเดียวกับกีตาร์คลาสสิก ลองดูการใส่สายที่ลูกบิดที่ภาพล่างสุดครับ

string-folk.gif (5296 bytes)string-folk1.gif (5199 bytes)string-winding.gif (9007 bytes)

          

             เมื่อเราใส่สายกีตาร์เรียบร้อยแล้วขั้นต่อไปก็คือการตั้งสาย ซึ่งมีอยู่มากมายหลายวิธีเรามาดูกันครับว่าการตั้งสายมีวิธีอย่างไรบ้าง

 

     2. การตั้งสายกีตารเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับทุกคนที่หัดเล่นกีตาร์ใหม่ ๆ ผมอยากจะให้หมั่นเช็ค(ระดับเสียง)สายกีตาร์ทุกครั้งเมื่อคุณหยิบมันขึ้นมาเล่น เพราะนอกจากจะทำให้กีตาร์คุณมีระดับเสียงที่ถูกต้องเสมอแล้ว ยังเป็นการฝึกให้คุณคุ้นเคยกับระดับเสียงที่ถูกต้องของสายกีตาร์แต่ละเส้นซึ่งสำคัญมาก ตอนผมซื้อกีตาร์ตัวแรกจากหลังกระทรวง(ถูกมากไม่ถึงพันบาท และตอนซื้อก็ไม่มีความรู้อะไรเลยแค่อยากได้มาเล่นเอง)ผมกลับมาบ้านก็ต้องผิดหวังเพราะร้านเขาไม่ได้ตั้งสายไว้ ผมก็ไม่ได้ลองเล่น สรุปเลยเล่นไม่ได้ต้องไปถามเพื่อน ๆ ที่เขาเล่นเป็นว่าตั้งสายยังไงกว่าจะได้เล่นจริงเสียเวลาไปหลายวัน ส่วนบางคนผมเห็นเล่นกีตาร์มาเป็นปีแต่ไม่สามารถตั้งสายกีตาร์ได้ก็มีแล้วก็เลยเล่นทั้งที่สายเพี้ยน ๆ คุณก็คิดดูสิครับมันคงไม่ไพเราะเท่าไรนัก เอาล่ะเรามาดูซิว่าจะตั้งสายกีตาร์ยังไงดี

     2.1 การตั้งสายโดยเทียบกับเปียโนหรือคีบอร์ด คุณสามารถใช้เปียโนหรือคีบอร์ดของคุณ(ถ้ามี)ช่วยในการตั้งสายได้ด้วยวิธีง่าย ๆโดยดีดสายเปล่าของกีตาร์เทียบกับการดีดเปียโนซึ่งมีโน็ตเดียวกันแล้วพิจจารณาฟังเสียงปรับจนอยู่ในระดับเดียวกันดังในรูป

part_11.gif (10446 bytes)

   2.2 การตั้งสายกีตาร์ด้วยหลอดเทียบเสียง (Pitch Pipe) โดยทั่วไปหลอดเทียบเสียงจะเป็นท่อพลาสติกหรือท่อโลหะเล็ก ๆ เรียงต่อกัน 6 ท่อ ซึ่งแต่ละท่อจะมีระดับเสียงตามสายกีตาร์ทั้ง 6 สาย เวลาจะตั้งสายคุณก็ดูช่องให้ตรงกับสายที่ต้องการตั้งเช่นสาย 5 โน๊ต A คุณก็ดูที่ท่อที่มีเขียนว่าAหรือสาย 5 แล้วก็เป่าหลอดเทียบเสียงพร้อมทั้งดีดสาย 5 คลอกันไปแล้วพยายามสังเกตเสียงของหลอดกับกีตาร์ว่าระดับเดียวกันหรือยัง ตรงนี้อาจจะยากนิดนึงสำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยแต่ก็ลองดูครับไม่ยากเกินไปหรอกครับ สำหรับสายอื่นก็เช่นเดียวกัน

pipe.gif (5764 bytes)

   2.3 การตั้งสายกีตาร์ด้วยเครื่องตั้งสายกีตาร์   เครื่องตั้งสายกีตาร์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการฟังระดับเสียงของกีตาร์เทียบกับหลอดเทียบเสียงหรือเทียบกับเครื่องดนตรีอื่น หลักการก็คือการใช้ความถี่ของโน๊ตแต่ละตัวของสายกีตาร์ซึ่งคงที่ให้เครื่องเป็นตัวตรวจสอบความถี่ดังกล่าวบางรุ่นก็จะเป็นเข็มซึ่งจะกระดิกไปบนหน้าปัตท์ที่มีสเกลของโน๊ตสายเปล่าสายต่าง ๆและรุ่นที่ใหม่ขึ้นมาจะเป็นระบบดิจิตอลที่แสดงค่าเป็นตัวโน๊ตหรือความถี่ซึ่งทำให้ง่ายต่อการตั้งสายสำหรับมือใหม่อย่างมากแต่ราคาค่อนข้างจะสูง การทำงานคร่าว ๆ คือ คุณต้องเลือกว่าจะตั้งสายใดโดยปรับค่าที่ตัวเครื่อง จากนั้นวางเครื่องใกล้ ๆ ตัวกีตาร์แล้วดีดสายดังกล่าว ปรับจนเข็มบนหน้าปัทย์อยู่ตรงกลางจึงถือว่าสมบูรณ์

e-tune.gif (3540 bytes)

   2.4 การตั้งสาายกีตาร์แบบเทียบเสียงแต่ละสาย เป็นวิธีที่ง่ายและได้รับความนิยมมากที่สุดเพราะง่ายและไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นเพียงแต่ควรจะตั้งสายแรก(สายไหนก็ได้)ให้ใกล้เคียงหรือตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด แต่สิ่งที่ผมอยากจะแนะนำไว้นิดหนึ่ง จากประสบการณ์ที่เคยพบมาผมว่าควรจะเริ่มตั้งจากสาย 1 (สายเล็กสุด)ก่อนเนื่องจากบางทีเราไม่สามารถตั้งเสียงให้เท่ากับระดับเสียงจริงได้ถ้าเราตั้งสาย 6 ก่อนแล้วคุณตั้งไว้สูงไปซึ่งสาย 6 มี เสียงต่ำทำให้บางทีเรานึกว่าระดับเสียงยังไม่ถึงตามความเป็นจริงจึงตั้งจนสูงไปแล้วกว่าจะเทียบเสียงผ่านไปถึงสาย1 ซึ่งเล็กสุดทำให้ระดับเสียงจะสูงมากจนบางทีอาจทำให้สายขาดได้ แต่ถ้าตั้งมาจากสาย 1 ก่อนปัญหานี้จะไม่ค่อยเกิด หลักในการเทียบเสียงวิธีนี้ได้แก่

        1. ตั้งเสียงของสายหนึ่ง โน๊ต E ก่อนจากหลอดเทียบเสียงหรือไม่ก็กะประมาณเอา(อาจต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะกะระดับเสียงเป็นครับ) จนเป็นที่พอใจ

        2. ตั้งเสียงของสาย 2 โน๊ต B โดยการกด สาย 2 ช่อง 5 เทียบกับสายเปล่าสาย 1แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่าก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน

        3. ตั้งเสียงของสาย 3 โน๊ต G โดยการกด สาย 3 ช่อง 4 เทียบกับสายเปล่าสาย 2 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่าก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน

        4. ตั้งเสียงของสาย 4 โน๊ต D โดยการกด สาย 4 ช่อง 5 เทียบกับสายเปล่าสาย 3 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่าก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน

        5. ตั้งเสียงของสาย 5 โน๊ต A โดยการกด สาย 5 ช่อง 5 เทียบกับสายเปล่าสาย 4 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่าก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน

        6. ตั้งเสียงของสาย 6 โน๊ต E โดยการกด สาย 6 ช่อง 5 เทียบกับสายเปล่าสาย 5 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่าก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน

        tune1.gif (14508 bytes)tune2.gif (20140 bytes)tune3.gif (20320 bytes)tune4.gif (19931 bytes)tune5.gif (19922 bytes)

    ความจริงถ้าจะให้สะดวกแล้วอาจตั้งจากสาย 6 ไปหาสาย 1ดังที่ในรูปแสดง จุดสีเหลืองหมายถึงสายเส้นและช่องที่กดเพื่อดีดเทียบ และจุดสีฟ้าคือสายเปล่าที่ใช้จะปรับตั้งเสียง จะง่ายกว่าเนื่องจากปรับสายเปล่าจะง่ายกว่าปรับสายที่นิ้วกดอยู่ซึ่งถ้าจะตั้งจากสาย 6 ไปหาสาย 1 ก็ทำในแบบเดียวกันแต่ไล่จากข้อสุดท้ายขึ้นไปคือตั้งสาย 6 ให้ได้แล้วไล่เทียบสายอื่นต่อไปก็ได้แล้วแต่ความถนัดของคุณครับ

   2.5 การตั้งสายกีตาร์ด้วยส้อมเสียง (Tuning Fork) ซึ่งค่อนข้างจะได้มาตรฐานค่อนข้างสูงลักษณะของส้อมเสียงก็มีลักษณะคล้ายส้อมจริง ๆ เพียงแต่มี 2 ง่าม ซึ่งคุณที่เรียนวิทยาศาสตร์อาจเคยใช้ทดลองเรื่องของเสียงมาบ้างแต่คุณที่ไม่เคยเห็นอาจจะไปดูที่แผนกเครื่องดนตรีตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ส้อมเสียงแต่ละอันจะถูกทำมาให้มีค่าความถี่ในการสั่นหรือระดับเสียงของโน๊ตคงที่เช่นส้อมเสียง A มีเสียงโน๊ตลาที่ความถี่ 440 Hz สำหรับการใช้ตั้งสายหรือเทียบเสียงกีตาร์ก็ทำโดยเคาะส้อมเสียงกับอะไรก็ได้ให้พอเกิดเสียงแล้วจึงนำด้านปลายที่เป็นตุ้มของส้อมเสียงดังกล่าวแนบกับบริดจ์หรือด้านหน้าของบอดี้ กีตาร์จะช่วยขยายเสียงของส้อมเสียงจากนั้นจึงปรับระดับเสียงของกีตาร์จนเข้ากับเสียงของส้อมเสียง ซึ่งคุณอาจใช้ส้อมเสียงเพียงอันเดียวหรือโน๊ตเดียวก็ได้แล้วค่อยเทียบสายอื่น ๆ จากสายที่ตั้งแล้วไม่จำเป็นต้องซื้อทั้ง 6 อันก็ได้ แต่การตั้งสายวิธีนี้ผมยังไม่เคยลองของจริงและก็ไม่ค่อยเป็นที่นิยมสำหรับการเล่นกีตาร์ธรรมดาอย่างพวกเรา การตั้งเสียงเมื่อตั้งเสียง A หรือสาย 5 ได้แล้วก็จึงตั้งสายอื่น ๆ ตามวิธีเทียบสายจากข้อ 2.4

fork.gif (5128 bytes)

    2.6 การตั้งสายกีตาร์ด้วยฮาร์โมนิค เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจและค่อนข้างจะเที่ยงตรงด้วยสำหรับรายละเอียดของฮาร์โมนิคคุณสามารถศึกษาจาก part 3 เรื่องเทคนิคของมือซ้ายและขวา ในที่นี้จะกล่าวเพียงคร่าว ๆ การทำเสียงฮาร์โมนิคนั้นไม่ยากนักเพียงแค่คุณวางนิ้วมือคุณบนสายกีตาร์ตรงเหนือเฟร็ตกีตาร์พอดีและไม่ต้องกดเพียงแค่วางแตะเอาไว้(เฟร็ตที่ให้เสียงฮาร์โมนิคที่ชัดเจนที่สุดคือเฟร็ตที่ 5, 7,และ12 เป็นต้น) การดีดให้ดีดใกล้ ๆ บริดจ์เสียงจะชัดเจนกว่า หลักการคือ

        1. เทียบเสียงสาย 6 และ 5 โดยวางนิ้วบนสายที่ 6 เหนือเฟร็ตที่ 5 และสายที่ 5 เหนือเฟร็ตที่ 7 แล้วดีดทั้ง 2 สายเทียบกันปรับจนระดับเสียงของฮาร์โมนิคนั้นเท่ากัน ตามรูป A

        2.   เทียบเสียงสาย 5 และ 4 โดยวางนิ้วบนสายที่ 5 เหนือเฟร็ตที่ 5 และสายที่ 4 เหนือเฟร็ตที่ 7 แล้วดีดทั้ง 2 สายเทียบกันปรับจนระดับเสียงของฮาร์โมนิคนั้นเท่ากัน ตามรูป B

        3.   เทียบเสียงสาย 4 และ 3 โดยวางนิ้วบนสายที่ 4 เหนือเฟร็ตที่ 5 และสายที่ 3 เหนือเฟร็ตที่ 7 แล้วดีดทั้ง 2 สายเทียบกันปรับจนระดับเสียงของฮาร์โมนิคนั้นเท่ากัน ตามรูป C

        4. เทียบเสียงสาย 6 และ 2 โดยวางนิ้วบนสายที่ 6 เหนือเฟร็ตที่ 7 และสายที่ 2 สายเปล่าคือไม่ต้องกดช่องใดเลย แล้วดีดทั้ง 2 สายเทียบกันปรับจนระดับเสียงของฮาร์โมนิคสาย 6 นั้นเท่ากับสายเปล่าสาย 2 ตามรูป D

        5. เทียบเสียงสาย 5 และ 1 โดยวางนิ้วบนสายที่ 5 เหนือเฟร็ตที่ 7 และสายที่ 5 สายเปล่าคือไม่ต้องกดช่องใดเลย แล้วดีดทั้ง 2 สายเทียบกันปรับจนระดับเสียงของฮาร์โมนิคสาย 5 นั้นเท่ากับสายเปล่าสาย 1ตามรูป E

        หรือเทียบเสียงสาย 2 และ 1 โดยวางนิ้วบนสายที่ 2 เหนือเฟร็ตที่ 5 และสายที่ 1 เหนือเฟร็ตที่ 7 แล้วดีดทั้ง 2 สายเทียบกันปรับจนระดับเสียงของฮาร์โมนิคนั้นเท่ากันก็ได้เช่นกัน ตามรูป F ปัญหาคือคุณต้องพยายามฝึกทักษะการฟังของคุณและการเล่นฮาร์โมนิคที่ชัดเจน

harmtu2.gif (6827 bytes)

            วิธีนี้เป็นวิธีการตั้งสายโดยเทียบเสียงฮาร์โมนิคกับฮาร์โมนิค แต่ยังมีอีกวิธีคือการเทียบเสียงฮาร์โมนิคกับโน๊ตธรรมดาลักษณะคล้าย ๆ กันคือ

        1. เทียบเสียงสาย 6 และ 5 โดยวางนิ้วบนสายที่ 6 เหนือเฟร็ตที่ 5 และกดสาย 5 เฟร็ตที่ 7 แล้วดีดเสียงฮาร์โมนิคของสาย 6 เทียบกับเสียงสาย 5 ปรับจนระดับเสียงของฮาร์โมนิคของสาย 6 นั้นตรงกับเสียงของสาย 5

        2.   เทียบเสียงสาย 5 และ 4 โดยวางนิ้วบนสายที่ 5 เหนือเฟร็ตที่ 5 และกดสาย 4 เฟร็ตที่ 7 แล้วดีดเสียงฮาร์โมนิคของสาย 5 เทียบกับเสียงสาย 4 ปรับจนระดับเสียงของฮาร์โมนิคของสาย 5 นั้นตรงกับเสียงของสาย 4

        3.   เทียบเสียงสาย 4 และ 3 โดยวางนิ้วบนสายที่ 4 เหนือเฟร็ตที่ 5 และกดสาย 3 เฟร็ตที่ 7 แล้วดีดเสียงฮาร์โมนิคของสาย 4 เทียบกับเสียงสาย 3 ปรับจนระดับเสียงของฮาร์โมนิคของสาย 4 นั้นตรงกับเสียงของสาย 3

        4. เทียบเสียงสาย 3 และ 2 โดยวางนิ้วบนสายที่ 3 เหนือเฟร็ตที่ 5 และกดสาย 2 เฟร็ตที่ 8 แล้วดีดเสียงฮาร์โมนิคของสาย 3 เทียบกับเสียงสาย 2 ปรับจนระดับเสียงของฮาร์โมนิคของสาย 3 นั้นตรงกับเสียงของสาย 2

        5. เทียบเสียงสาย 2 และ 1 โดยวางนิ้วบนสายที่ 2 เหนือเฟร็ตที่ 5 และกดสาย 1 เฟร็ตที่ 7 แล้วดีดเสียงฮาร์โมนิคของสาย 2 เทียบกับเสียงสาย 1 ปรับจนระดับเสียงของฮาร์โมนิคของสาย 2 นั้นตรงกับเสียงของสาย 1

harmtu1.gif (7017 bytes)

การตั้งสายด้วยวิธีใช้เสียงฮาร์โมนิคจะใช้ได้ดีกับกีตาร์ที่ได้มาตรฐานซึ่งถ้ากีตาร์ไม่ได้มาตรฐานแล้วระดับเสียงฮาร์โมนิคจะเพี้ยนหรือระดับเสียงในแตละเฟร็ตจะไม่ตรงตามความเป็นจริงของมัน

    2.7 การตั้งสายกีตาร์ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ การตั้งสายด้วยวิธีนีอาศัยหลักวิทยาศาสตร์คือเมื่อทำให้เกิดเสียงในสายกีตาร์สายหนึ่งด้วยระดับเสียงค่าหนึ่งจะทำให้อีกสานซึ่งมีระดับเดียวกันเกิดการสั่นด้วยความถี่ที่เท่ากัน(หมายถึงสายจะสั่นด้วยตัวมันเองไม่ใช่สั่นเพราะเกิดจากการดีด) วิธีก็คือจะใช้หลักของการตั้งสายในข้อที่ 2.5 เป็นหลักแต่จะดีดเพียงสายที่กดส่วนสายเปล่าไม่ต้องดีดเช่นตั้งสาย 5 เทียบกับสาย 6 โดยการกดสาย 6 ช่องที่ 5 แล้วดีดสาย 6 ถ้าสาย 5 ตั้งสายไว้ถูกต้องจะเกิดการสั่นเอง สายอื่นก็ทำเช่นเดียวกันแต่วิธีนี้น่าจะไว้เช็คมากกว่าใช้ในการตั้งสายจริง ๆ ลองไปใช้ดูนะครับ

   2.8 การตั้งสายเปิด การตั้งสายเปิดเป็นการตั้งสายแบบพิเศษที่ไม่ใช้แบบมาตรฐาน (ซึ่งมีโน๊ตจากสาย 6 ไปสาย 1 คือ E A D G B E) ซึ่งจะมีการตั้งระดับเสียงแต่ละสายในอีกรูปแบบหนึ่งเพื่อให้ได้เสียงที่ดีดออกมาแล้วเป็นเสียงคอร์ดเลยโดยที่ไม่ต้องจับคอร์ดทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการเล่นและได้ sound ที่แปลกออกไป เช่นการตั้งสายเปิด D - open tuning จะตั้งสายจากสาย 6 ไป 1เป็น D A D F# A D (เรื่องโน๊ตของสายกีตาร์จะกล่าวต่อไป) ซึ่งเมื่อดีดแล้วจะให้เสียงคอร์ด D โดยที่ไม่ต้องจับคอร์ด การตั้งสายแบบนี้มักใช้กับสไลด์กีตาร์ หรือแบบฟิงเกอร์สไตล์

ตัวอย่างของการตั้งสายเปิด

ชื่อการตั้งสายกีตาร์
ลำดับสายกีตาร์
6
5
4
3
2
1
การตั้งสายแบบมาตรฐาน
E
A
D
G
B
E
การตั้งสายเปิดแบบ Slack Key หรือ Hawaiian
D
G
D
G
B
E
G
B
D
G
B
D
การตั้งสายเปิด D
D
A
D
F#
A
D
การตั้งสายเปิด E
E
B
E
G#
B
E
การตั้งสายเปิด A
E
A
E
A
C#
E
การตั้งสายเปิด C
E
G
C
G
C
E
การตั้งสายเปิดแบบ drop D
D
A
D
G
B
E
การตั้งสายเปิดแบบ Cross Note (Em)
E
B
E
G
B
E
การตั้งสายเปิดแบบ Cross Note (Dm)
D
A
D
F
A
D

            นอกจากที่เห็นในตารางยังมีการตั้งสายเปิดแบบอื่น ๆ อีกมากแล้วแต่ผู้แต่งเพลงจะสร้างสรรค์ขึ้นมาให้เหมาะกับเพลงดังกล่าว

            มีข้อแนะนำนิดนึงเวลาตั้งสายนั้น สายจะยาวมากทำให้การหมุนลูกบิดตั้งสายลำบากเพราะสายที่ยาวจะเกะกะ ดังนั้นคุณอาจจะใช้วิธีวางกีตาร์หงายใช้มือซ้ายดึงสายให้ตึง(หลังจากใส่สายที่ bridge และสอดอีกปลายที่ลูกบิดแล้ว)จะบิดลูกบิดได้ง่ายขึ้นมาก ลองดูจากรูปข้างล่างนี้ครับ

stretch1.gif (2843 bytes)

            เมื่อตั้งสายเสร็จแล้วส่วนที่เกินมาจากลูกบิดอาจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตอนคุณสอดสายในลูกบิด ซึ่งถ้าเหลือน้อยอาจไม่เป็นไร ถ้าเหลือมากอาจจะม้วนเป็นวงกลมเช่นเดียวกับตอนที่เขาม้วนใส่ซองไว้ หรือไม่ก็ใช้คีมหรือกรรไกรตัดลวดตัดทิ้งไป ทั้งนี้ตอนคุณใส่สายในช่องลูกบิดครั้งแรกควรกะประมาณให้พอดี คือให้สายนั้นพันกับแกนลูกบิดอย่างน้อย 2 - 3 รอบขึ้นไปหลังจากตั้งสายเสร็จแล้วเพื่อป้องกันการคลายตัว

 

3. การระวังและดูแลรักษากีตาร แน่นอนครับการที่คุณรักในการเล่นกีตาร์ กีตาร์ย่อมมีความหมายกับคุณมากดังนั้นเราก็ควรจะเอาใจใส่ดูแล่กับสิ่งที่เรารักใช่มั๊ยครับเพื่อที่มันจะได้อยู่กับเรานาน และมีสภาพดีอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นนักที่เราจะเสียเวลาเพียงไม่มากในการบำรุงรักษากีตาร์ที่เรารัก เรามาดูกันซิครับว่าเราจะดูแลรักษากีตาร์กันอย่างไรบ้าง

     3.1 น้ำยาขัดเงากีตาร์ กีตาร์เมื่อเราเล่นไปสักระยะนึงมักจะมีคราบเหงื่อไคล หรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ จับโดยเฉพาะถ้าเราไม่ได้เก็บเข้ากล่องหรือถุงใส่ กีตาร์เราก็จะดูหมองไม่สวยงามเลยดังนั้นเมื่อเราเล่นไปสักระยะนึงก็น่าจะทำความสะอาดมันสักครั้ง โดยการใช้น้ำยาขัดกีตาร์ซึ่งหาซื้อได้ไม่ยาก วิธีใช้ก็ไม่ยากเลยแค่ฉีดเจ้าน้ำยานี้ไปบนตัวกีตาร์แล้วใช้ผ้านุ่ม สะอาดเช็ดถูและขัดให้ทั่วตัวกีตาร์เท่านี้กีตาร์คุณก็จะกลับมาเงางามเหมือนเดิม

            แต่การที่จะขัดเงาบ่อย ๆ ก็ไม่เป็นผลดีเท่าใดนักเนื่องจากอาจจะทำให้สารเคลือบเงาบนตัวกีตาร์นั้นถูกขัดออกบางลงไปได้ และมีผลต่อเนื้อไม้และเสียงของกีตาร์ นักกีตาร์บางคนจึงพอใจที่จะใช้กีตาร์เก่า ๆ เช่น Stevie Ray Vauhan เป็นต้น

     3.2น้ำยาขัดสายกีตาร์ เช่นเดียวกันกับตัวกีตาร์ สายนั้นต้องถูกเรากดขณะเล่นตลอดเวลาผลก็คือคราบเหงื่อไคล สิ่งสกปรกต่าง ๆ อาจจะไปจับบนสายกีตาร์ทำให้เกิดสนิม หรือคุณภาพของเสียงเสียไปได้ ซึ่งก็เป็นการดีถ้าคุณจะเช็ดสายกีตาร์บ้างเมื่อเล่นกีตาร์ไปสักระยะนึง ก็จะทำให้ช่วยยืดอายุสายกีตาร์คุณและทำให้เสียงมีที่ดีตลอดเวลา การเช็ดสายก็ทำโดยใช้ผ้าสะอาด เทน้ำยาลงไปบนผ้าเล็กน้อยแล้วจึงเช็ดสายให้ทั่วตลอดความยาวทุกสาย แค่นี้คุณก็จะได้สายที่สะอาดให้เสียงที่มีคุณภาพและมีอายุการใช้งานนานขึ้น

     3.3 ซองหรือกล่องใส่กีตาร์ เป็นการดีถ้าคุณจะมีกล่องหรือถุงใส่เก็บกีตาร์เมื่อคุณเล่นเสร็จ เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกฝุ่นละอองต่าง ๆ หรืออุบัติเหตุอื่น ๆ เช่นถือไปชนกับอย่างอื่นหรือแม้แต่อะไรหล่นใส่เป็นต้น ปกติถ้าคุณซื้อกีตาร์ที่มียี่ห้อหรือราคาสูง ๆ มักจะมีกล่องใส่หรือถุงใส่ให้มาด้วยอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มีคุณก็สามารถไปหาซื้อได้ สำหรับถุงใส่จะมีทั้งแบบหนังและผ้าผมว่าน่าจะซื้อแบบเป็นหนังมากกว่าถึงราคาจะสูงกว่าหน่อยแต่ก็แข็งแรงกว่าแบบผ้ามาก ส่วนแบบกล่องนั้นค่อนข้างแพง

                    การเก็บกีตาร์ควรเก็บในที่ที่ปลอดภัย หมายถึงเป็นที่ที่จะไม่มีอะไรมาหล่นใส่หรือมาชนได้และต้องวางได้มั่นคงไม่ใช่วางแล้วมีโอกาสเอียงล้มเป็นต้น ถ้าคุณไม่เก็บเข้าถุงหรือกล่องและอยากตั้งโชว์ ก็ควรจะมีขาตั้งหรือ stand กีตาร์ มีทั้งแบบวางตั้งพื้นและแบบแขวนผนัง ส่วนการวางกีตาร์แบบวางนอนควรจะวางคว่ำคือ วางให้สายคว่ำลงกับพื้นเพื่อต้านแรงดึงของสายกีตาร์ด้วย และเมื่อเล่นเสร็จทุกครั้งหรืออย่างน้อยบางครั้งก็ได้ ควรที่จะทำความสะอาดกีตาร์สักเล็กน้อยก่อนที่จะเก็บเข้าที่ เพราะขณะเราเล่นอาจมีคราบเหงื่อไคลสิ่งสกปรกที่ไปจับกับตัว หรือสายกีตาร์ ดังนั้นอย่างน้อยน่าจะเช็ดสักนิดนึงก่อนเก็บ มันจะได้อยู่กับคุณไปนาน และมีคุณภาพที่ดีเสมอ อย่าปล่อยให้ฝุ่นจับเจ้ากีตาร์ของคุณจนเขลอะไปหมดนะครับ

               ในส่วนจะกล่าวถึงความรู้เบื้องต้นทั่ว ๆ ไปในการเริ่มหัดกีตาร์ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อน ๆ อาจอาจจะอยากทราบว่าขั้นตอนหรือ step ต่าง ๆ ในการเริ่มและฝึกเล่นกีตาร์มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ก่อนจะไปเริ่มฝึกลองมาดูกันซิครับว่าขั้นตอนในการฝึกฝนกีตาร์ (ของผมเอง) เป็นยังไงบ้าง

spiderguitar.gif (37605 bytes)

    

กลับไปหน้าแรก