รู้จักคอร์ด และการใช้คอร์ดกีตาร์
ก่อนหน้านี้เราได้รู้จักคอร์ดเบื้องต้นกันมาแล้ว 4 คอร์ดได้แก่ C, Am, Dm, G7 คุณได้รู้ว่าคอร์ดดังกล่าวจับยังไงเล่นยังไงแล้วในเบื้องต้น คราวนี้ผมจะกล่าวลึกลงไปในรายละเอียด ได้แก่โครงสร้าง และการสร้างคอร์ด รวมถึงการตีคอร์ด และการเกากระจายคอร์ดในขั้นสูงขึ้น รวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ
**** เรื่องนี้มีความสำคัญมากและมีประโยชน์ในการแกะเพลง การเล่นกีตาร์ในขั้นสูง ๆ ต่อไปอย่างมาก ขอให้พยายามศึกษาให้เข้าใจนะครับ
ในส่วนที่แล้วเรารู้จักการเรียกชื่อ และการเขียนชื่อคอร์ดต่าง ๆ เรารู้จักคอร์ดเบื้องต้นกันบ้างแล้ว แต่คราวนี้เราจะมาดูรายละเอียด ในด้านโครงสร้างและการสร้างคอร์ด ซึ่งไม่ยากอย่างที่คิดครับแล้วคุณจะรู้ว่าตารางคอร์ดอาจไม่จำเป็นสำหรับคุณก็ได้
คอร์ด คือกลุ่มของโน๊ตตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป ซึ่งมีโครงสร้างต่าง ๆ ดังในตารางนี้
คอร์ด |
ชื่อคอร์ด |
โครงสร้างของคอร์ด |
|
% |
mojor |
1
3 5 |
|
%m |
minor |
1
b3 5 |
|
%7 |
seventh |
1
3 5 b7 |
|
%m7 |
minor seventh |
1
b3 5 b7 |
|
%6 |
sixth |
1
3 5 6 |
|
%m6 |
minor sixth |
1
b3 5 6 |
|
%dim |
diminished |
1
b3 b5 6 |
|
%+ |
augmented |
1
3 #5 |
|
%7sus4 |
seventh suspension
four |
1
4 5 b7 |
|
%sus |
suspension |
1
4 5 |
|
%7+5 |
seventh augmented
fifth |
1
3 #5 b7 |
|
%7-5 |
seventh flat
five |
1
3 b5 b7 |
|
%7-9 |
seventh flat
nine |
1
3 5 b7 b9 |
|
%maj7 |
mojor seventh |
1
3 5 7 |
|
%m7-5 |
minor seventh
flat five |
1
b3 b5 b7 |
|
%9 |
ninth |
1
3 5 b7 9 |
|
%m9 |
minor ninth |
1
b3 5 b7 9 |
|
%9+5 |
ninth augmented
fifth |
1
3 #5 b7 9 |
|
%9-5 |
ninth flat five |
1
3 b5 b7 9 |
|
%maj9 |
major ninth |
1
3 5 7 9 |
|
%11 |
eleventh |
1
3 5 b7 9 11 |
|
%11+ |
eleventh augmented |
1
3 5 b7 #11 |
|
%13 |
thirteenth |
1
3 5 b7 9 13 |
|
%13b9 |
thirteenth flat
ninth |
1
3 5 b7 b9 13 |
|
% |
7 |
seventh
sixth |
1
3 5 6 b7 |
6 |
|||
% |
9 |
ninth
sixth |
1
3 5 6 9 |
6 |
|||
%+7 |
augmented seventh |
1
3 #5 b7 |
|
%dim7 |
diminished seventh |
1
b3 b5 6 b7 |
|
%m+7 |
minor augmented
seventh |
1
b3 #5 b7 |
|
%13sus4 |
thirteenth suspension
four |
1
3 4 5 b7 13 |
|
%m
(add 9) |
minor add ninth |
1
b3 5 9 |
|
%(add
9) |
add ninth |
1
3 5 9 |
|
%9sus |
ninth suspension |
1
3 4 5 b7 9 |
|
% |
4 |
fourth
ninth |
1
3 4 5 9 |
9 |
|||
%+11 |
augmented eleventh |
1
3 #5 b7 11 |
|
%7+9 |
seventh augmented
ninth |
1
3 5 b7 #9 |
|
%+4 |
augmented fourth |
1
3 4 #5 |
**** หมายเหตุ : b3 จะหมายถึง โน๊ตตัวที่ 3 ในสเกลติด b หรือ #5 หมายถึงโน๊ตตัวที่ 5 ในสเกลติด # เป็นต้น
จากตารางข้างบนนี้คุณจะทราบถึงโครงสร้างของคอร์ด ซึ่งตัวเลขในตารางช่องสุดท้ายหมายถึงลำดับของตัวโน๊ตในสเกลเมเจอร์ (ให้ดูในเรื่องสเกล) อาจจะเข้าใจคร่าว ๆ คือการไล่เสียงนั่นเอง เลข 1 คือโน๊ตตัวแรกของสเกล (เรียกว่า root) และ 2, 3, 4, 5 ก็เป็นโน๊ตในลำดับที่ 2, 3, 4, 5 ของสเกลนั่นเอง ลองดูตัวอย่างในสเกล C เมเจอร์ มีการไล่โน๊ตในสเกลเป็น C, D, E, F, G, A, B ดังนั้นโน๊ตตัวที่ 1 = C, 2 = D, 3 = E, 4 = F, 5 = G, 6 = A และ 7 = B
คราวนี้ลองมาดูที่คอร์ด C เมเจอร์ คือ ช่องแรกของตาราง จะเห็นว่าโครงสร้างประกอบด้วย 1 3 5 เมื่อเทียบกับโน๊ตในสเกลแล้วจะได้ว่า C, E และ G ซึ่งก็คือโน๊ตที่เป็นโครงสร้างของคอร์ด C เมเจอร์นั่นเอง คุณลองเช็คดูตำแหน่งที่กดสายกับโน๊ตบนคอกีตาร์ ที่แสดงในรูปในหัวข้อที่แล้ว
เห็นมั๊ยครับไม่ยากเลยคุณแค่จำโครงสร้างของคอร์ดที่สำคัญหรือเห็นบ่อย ๆ กับเข้าใจในเรื่องสเกลนิดหน่อยคุณก็สามารถสร้างคอร์ดเองได้แต่ในตอนนี้ผมจะใช้ตารางแสดงก่อนเพื่อจะได้ดูง่าย ๆ โดยตารางนี้จะแสดงโน๊ตในลำดับต่าง ๆ ของแต่ละสเกล
ชื่อคอร์ด |
ลำดับของโน๊ตในสเกล |
|||||||||||||||
1 |
b3 |
3 |
4 |
b5 |
5 |
#5 |
6 |
b7 |
7 |
b9 |
9 |
#9 |
11 |
#11 |
13 |
|
C |
C |
Eb |
E |
F |
F# |
G |
G# |
A |
Bb |
B |
C# |
D |
Eb |
F |
F# |
A |
C#
(Db) |
C# |
E |
F |
F# |
G |
G# |
A |
Bb |
B |
C |
D |
Eb |
E |
F# |
G |
Bb |
D |
D |
F |
F# |
G |
G# |
A |
Bb |
B |
C |
C# |
Eb |
E |
F |
G |
G# |
B |
Eb
(D#) |
Eb |
F# |
G |
G# |
A |
Bb |
B |
C |
C# |
D |
E |
F |
F# |
G# |
A |
C |
E |
E |
G |
G# |
A |
Bb |
B |
C |
C# |
D |
Eb |
F |
F# |
G |
A |
Bb |
C# |
F |
F |
G# |
A |
Bb |
B |
C |
C# |
D |
Eb |
E |
F# |
G |
G# |
Bb |
B |
D |
F#
(Gb) |
F# |
A |
Bb |
B |
C |
C# |
D |
Eb |
E |
F |
G |
G# |
A |
B |
C |
Eb |
G |
G |
Bb |
B |
C |
C# |
D |
Eb |
E |
F |
F# |
G# |
A |
Bb |
C |
C# |
E |
G#
(Ab) |
G# |
B |
C |
C# |
D |
Eb |
E |
F |
F# |
G |
A |
Bb |
B |
C# |
D |
F |
A |
A |
C |
C# |
D |
Eb |
E |
F |
F# |
G |
G# |
Bb |
B |
C |
D |
Eb |
F# |
Bb
(A#) |
Bb |
C# |
D |
Eb |
E |
F |
F# |
G |
G# |
A |
B |
C |
C# |
Eb |
E |
G |
B |
B |
D |
Eb |
E |
F |
F# |
G |
G# |
A |
Bb |
C |
C# |
D |
E |
F |
G# |
ขั้นแรกนี้ให้ศึกษาจากตารางข้างบนนี้ก่อนซึ่งจะยิ่งทำให้คุณสะดวกมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับสเกล จากตัวอย่างที่แล้วคือคอร์ด C เมเจอร์ จากตารางแรกพบว่าคอร์ดเมเจอร์ประกอบด้วยโน๊ตลำดับที่ 1 3 5 จากนั้นไปดูตารางที่สองที่คอร์ด C และที่โน๊ตลำดับที่ 1 3 5 จะพบว่า 1= C, 3 = E, 5 = G ก็จะเหมือนกันกับหาจากสเกลนั่นเอง จากนั้นก็ไปหาตำแหน่งโน๊ตที่จะกดบนคอกีตาร์จากรูปในหัวข้อที่แล้ว
รูปแสดงโน๊ตที่อยู่บนคอกีตาร์
ตัวอย่างการสร้างคอร์ด D9 ขั้นแรกคุณต้องไปดูโครงสร้างของคอร์ด 9 (ninth) ว่ามีโน๊ตลำดับเท่าไรบ้างจากตารางที่ 1 ซึ่งจะพบว่าประกอบด้วย 1 3 5 b7 9 จากนั้นมาดูที่ตารางที่ 2 ที่ช่องของคอร์ด D จะได้ว่า 1 = D, 3 = F#, 5 = A, b7 = C และ 9 = E ขั้นต่อไปจึงไปดูที่รูปแสดงโน๊ตบนคอกีตาร์ว่าโน๊ตดังกล่าวอยู่ที่ตำแหน่งใดบนคอกีตาร์บ้างและที่สำคัญ โน๊ตแต่ละตัวต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมคือจับสะดวกและได้ครบทุกตัวโน๊ต ซึ่งเราพบว่าอาจจะจัดรูปนิ้วได้ 2 รูปง่าย ๆ คือ
ใน D9 แบบที่ 1นั้นอาจจะละเส้น 6 ไว้ก็ได้สำหรับในรูปตัว T คือการใช้นิ้วโป้งช่วยในการจับคอร์ด โดยการกำรอบคอกีตาร์ให้นิ้วโป้งอ้อมมากดสายที่ 6 ได้ ลองฝึกดูครับ เทคนิคนี้สามารถใช้กับการจับคอร์ด F ได้ด้วยคือไม่ต้องทาบทั้ง 6 เส้นดังตัวอย่างนี้
จะเห็นว่าคุณทาบเพียง 2 สายเท่านั้นง่ายกว่าเยอะครับ การใช้นิ้วโป้งช่วยจับคอร์ดนั้นมีประโยชน์มากลองฝึกดูครับ แล้วลองปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ใช้กับการเล่นกีตาร์ของคุณดู
สัญลักษณ์เส้นโค้ง ๆ ที่เห็นหมายถึงการทาบสายด้วยนิ้วเดียวนั่นเองดังเช่นใน D9 แบบที่สอง คุณใช้นิ้วชี้ทาบสาย 5 เส้นคือเส้น 1, 2, 3, 4 และ 5 แล้วใช้นิ้วกลางกดสาย 1 ที่ช่อง 8
ดังนั้นคุณจะเห็นว่าไม่ยากเลยในการสร้างคอร์ดกีตาร์ เพียงแค่คุณจำโครงสร้างของคอร์ดหลัก ๆ มีความเข้าใจในเรื่องโน๊ตดนตรีเล็กน้อย รู้จักการไล่เสียงหรือสเกลบ้าง และรู้ตำแหน่งโน๊ตต่าง ๆ บนคอกีตาร์ เท่านี้คุณสามารสร้างคอร์ดได้อย่างรวดเร็ว ตอนนี้ถ้าคุณยังไม่คุ้นเคยกับสเกลอาจจะใช้ตารางที่ 2 ในการหาโน๊ตก่อนก็จะสะดวกดีครับ
คอร์ดพื้นฐาน (Open Position Chord)
คราวนี้เราจะมาดูซิว่ารูปคอร์ดพื้นฐานมีอะไรบ้าง ที่เรียกว่า open position chord เนื่องจากคอร์ดพื้นฐานนั้นจะเป็นการจับคอร์ดในรูปที่ง่ายและมีสายเปิดหรือสายที่ไม่ต้องกดมากที่สุด คืออาจจะกดไม่เกิน 3 สายก็จะได้คอร์ดออกมาต่อไปจะแสดงคอร์ดพื้นฐานใน key ต่าง ๆ
1. คอร์ด C
2. คอร์ด G, G7
3. คอร์ด D, D7, Dm
4. คอร์ด A, A7, Am
5. คอร์ด E, Em
เพื่อน ๆ คงเคยได้ยินหรือรู้จักคอร์ดทาบกันมาบ้างแล้วนะครับ คอร์ดทาบคือการที่เราใช้นิ้วใดนิ้วหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องเป็นนิ้วชี้เสมอไป) พาดทับสายบนฟิงเกอร์บอร์ดตั้งแต่ 2 สายขึ้นไป ถ้าพาด 3 สายเรียกว่า half bar เป็นต้น ซึ่งหลาย ๆ คนอาจรู้จากคอร์ดทาบจากคอร์ด F และ Bb เป็นต้นและก็จะรู้สึกว่ามันยากที่จะเล่นและพยายามจะหลีกเลี่ยงมัน แต่คราวนี้เราจะมาดูประโยชน์ของ bar chord ว่ามันให้อะไรกับคุณบ้าง
จากหัวข้อเรื่องโน๊ตบนคอกีตาร์ คุณได้ทราบแล้วว่าเมื่อเราเลื่อนกดเฟร็ตที่สูงขึ้น 1 ช่อง เสียงจะสูงขึ้นครึ่งเสียง (#) และเมื่อเรากดต่ำลงมา 1 ช่อง เสียงจะลดลงครึ่งเสียง (b) เช่นกัน ดังนั้นเราจะใช้ประโยชน์กับความรู้นี้ในการสร้างคอร์ดต่าง ๆ จากคอร์ดทาบ ในขั้นแรกนี้ลองมาดูรูปคอร์ดหลัก ๆ ที่เป็นคอร์ดพื้นฐานกันก่อนนะครับ เช่น คอร์ด E และ A
คุณลองสังเกตดูลักษณะการจับคอร์ดของ E กับ F หรือ A กับ Bb (ลองดูจากตารางคอร์ดหรือหนังสือเพลงทั่วไป) เมื่อคุณสังเกตดี ๆ แล้วก็จพบว่าจริง ๆ แล้ว คอร์ด E กับ F และ A กับ Bb(A#) นั้นฟอร์มการจับคอร์ดเหมือนกันทุกประการเลย เพียงแต่ F , Bb นั้นเกิดจาการเลื่อนฟอร์มการวางนิ้วของ E , A มา 1 ช่อง (หมายถึงเลื่อน 1 ช่อง ทั้ง 6 เส้น) ซึ่งคือเลื่อนสูงมาครึ่งเสียง ดังนั้นจาก E จะกลายเป็น F (เสียง F สูงกว่า E ครึ่งเสียง) และจาก A เป็น Bb (เสียง Bb สูงกว่า A ครึ่งเสียง)
ในการจับคอร์ด E หรือ A นั้นเราไม่ได้ทาบแต่ที่ nut หรือสะพานสายบนนั้นเองที่เสมือนกับนิ้วเราทาบอยู่ คุณลองจินตนาการดูนะครับ เมื่อคุณเลื่อนฟอร์มนิ้วที่จับคอร์ดนั้นลงมา 1 ช่องเสียงจะสูงขึ้นครึ่งเสียง แต่ว่า nut ไม่สามารถเลื่อนตามนิ้วเราลงมาได้ดังนั้นเราจึงต้องใช้นิ้วเราทาบบนฟิงเกอร์บอร์ด เพื่อทำหน้าที่แทน nut นั่นเอง
เอาล่ะครับเมื่อคุณเลื่อนฟอร์มนิ้วมา 1 ช่องจาก E และ A ตอนนี้คุณจะได้คอร์ด F และ Bb (A#) ต่อไปคุณลองเลื่อนฟอร์มนิ้วทั้งหมดไปอีก 1 ช่องสิครับ ตอนนี้คุณจะได้คอร์ดอะไร ใช่แล้วครับเสียงคุณจะสูงมาอีกครึ่งเสียง ดังนั้นคอร์ด F จะกลายเป็น F# และ คอร์ด Bb จะกลายเป็น B นั่นเอง แล้วถ้าคุณเลื่อนขึ้นไป 5 ช่องล่ะ เสียงจะสูงขึ้น 2 1/2 เสียง หรือ 2 เสียงครึ่ง ถ้าเริ่มจากฟอร์มพื้นฐานคอร์ด E จะได้ว่า E - F - F#(Gb) - G - G#(Ab) - A คุณก็จะได้คอร์ด A แล้วถ้าเริ่มจากฟอร์มพื้นฐานคอร์ด A จะได้ว่า A - A#(Bb) - B - C - C# - D ซึ่งคุณก็จะได้คอร์ด D นั่นเอง ดูจาก 2 รูปข้างบนคุณก็แค่วางฟอร์มนิ้วตามรูปและเคลื่อนฟอร์มนิ้วทั้งหมดขึ้นลงตามฟิงเกอร์บอร์ด (จุดดำในรูปคือตำแหน่งเส้นและช่องที่ต้องกด)
คราวนี้ลองมาดูรูปคอร์อื่น ๆ บ้างเช่น Em, Am ; E7, A7 เราสามารถใช้หลักการเดียวกันเพื่อสร้างคอร์ดอื่น ๆ จากการใช้การทาบและเลื่อนฟอร์มนิ้วไปบนฟิงเกอร์บอร์ด เช่นตัวอย่างข้างล่างนี้ เป็นการเลื่อนฟอร์มนิ้วไป 1 ช่องหรือทาบที่ช่องที่ 1 นั่นเอง
แล้วถ้าเลื่อนฟอร์มนิ้วไปอีก 1 ช่องหรือทาบที่ช่องที่ 2 ล่ะครับลองมาดูกันว่าจะได้ผลยังไง
คงจะพอเข้าใจแล้วนะครับ และคุณสามารถใช้หลักการนี้ได้กับคอร์ดทุกประเภท ไม่ใช่แค่คอร์ด E กับ A เพียงแต่อยู่บนหลักการว่าต้องเลื่อนเป็นจำนวนช่องเท่ากันทั้ง 6 เส้น ถ้าเลื่อนสูงขึ้นหรือต่ำลง 1 ช่องก็ต้องสูงขึ้นหรือต่ำลง 1 ช่องเท่ากันทั้ง 6 เส้น
ประโยชน์ของมันก็คือ คุณสามารถหาคอร์ดต่าง ๆ ได้มากมาย โดยการจำคอร์ดพื้นฐานหลัก ๆ เพียงไม่กี่รูปแบบ หรือคุณสามารถเปลี่ยน key ได้ง่าย ๆ เช่นเพลงนี้เสียงอาจจะต่ำไปสำหรับคุณ คุณก็อาจจะเลื่อนฟอร์มการจับคอร์ดทั้งหมดมา 2 ช่อง เพื่อให้เสียงสูงขึ้น 1 เสียงเต็มโดยการใช้การทาบหรือ bar สายมาช่วยเสมือนแทน nut และด้วยเหตุนี้เองจึงมีอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ช่วยในการเปลี่ยน key ดนตรี โดยที่คุณไม่ต้องเปลี่ยนคอร์ดเลย ทำให้การเปลี่ยน key ทำได้ง่ายขึ้นมาก
เทคนิคในการจับคอร์ดทาบอย่างหนึ่งที่ผมอยากจะแนะนำคือการใช้นิ้วโป้งยันกับกึ่งกลางด้านหลังคอกีตาร์ มันจะช่วยเพิ่มแรงกดให้คุณจับคอร์ทาบได้โดยไม่บอด และอีกวิธีคือใช้นิ้วที่ว่างช่วยกดทับอีกทีทำให้แรงกดเพิ่มขึ้นซึ่งจะใช้ได้กับคอร์ดที่จับแบบ Bb7 โดยเราจะเหลือนิ้ว 1 นิ้วสามารถจะใช้มาช่วยกดทับนิ้วที่ทาบได้อีกแรงนึง
จากส่วนที่แล้วการที่เราจะเปลี่ยนคอร์ดจาก E, A เป็น F, Bb นั้นหมายถึงคุณต้องใช้คอร์ดทาบตลอด สำหรับมือใหม่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ทั้งเจ็บและเมื่อยด้วย ดังนั้นคุณอาจจะใช้ capo (คลิ๊กเพื่อดูรายละเอียด) เพื่อทำหน้าที่แทน nut หรือการกดทาบนิ้วของคุณ เช่นเมื่อคุณคาด capo (อ่านว่า คาโป้) ที่ช่อง 1 ก็เสมือนว่าคุณเลื่อน nut มาอยู่ช่อง 1 หรือคุณกดทาบที่ช่อง 1 แล้วจากนั้นคุณก็จับคอร์ด E, A ตามปกติ แต่เสียงที่ได้จะเป็น F, Bb แทน โดยคุณไม่ต้องใช้นิ้วทาบให้เมื่อย ต่อไปนี้เป็นตารางแสดงการเปลี่ยน key ด้วยคาโป้
คอร์ดที่จับ |
ช่องที่คาดคาโป้ |
||||||||||
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
|
C |
C#
(Db) |
D |
D#
(Eb) |
E |
F |
F#
(Gb) |
G |
G#
(Ab) |
A |
A#
(Bb) |
B |
C# (Db) |
D |
D#
(Eb) |
E |
F |
F#
(Gb) |
G |
G#
(Ab) |
A |
A#
(Bb) |
B |
C |
D |
D#
(Eb) |
E |
F |
F#
(Gb) |
G |
G#
(Ab) |
A |
A#
(Bb) |
B |
C |
C#
(Db) |
D# (Eb) |
E |
F |
F#
(Gb) |
G |
G#
(Ab) |
A |
A#
(Bb) |
B |
C |
C#
(Db) |
D |
E |
F |
F#
(Gb) |
G |
G#
(Ab) |
A |
A#
(Bb) |
B |
C |
C#
(Db) |
D |
D#
(Eb) |
F |
F#
(Gb) |
G |
G#
(Ab) |
A |
A#
(Bb) |
B |
C |
C#
(Db) |
D |
D#
(Eb) |
E |
F# (Gb) |
G |
G#
(Ab) |
A |
A#
(Bb) |
B |
C |
C#
(Db) |
D |
D#
(Eb) |
E |
F |
G |
G#
(Ab) |
A |
A#
(Bb) |
B |
C |
C#
(Db) |
D |
D#
(Eb) |
E |
F |
F#
(Gb) |
G# (Ab) |
A |
A#
(Bb) |
B |
C |
C#
(Db) |
D |
D#
(Eb) |
E |
F |
F#
(Gb) |
G |
A |
A#
(Bb) |
B |
C |
C#
(Db) |
D |
D#
(Eb) |
E |
F |
F#
(Gb) |
G |
G#
(Ab) |
A# (Bb) |
B |
C |
C#
(Db) |
D |
D#
(Eb) |
E |
F |
F#
(Gb) |
G |
G#
(Ab) |
A |
B |
C |
C#
(Db) |
D |
D#
(Eb) |
E |
F |
F#
(Gb) |
G |
G#
(Ab) |
A |
A#
(Bb) |
บางคนอาจจะเคยได้ยินคำนี้มาบ้างแล้ว โดยเฉพาะกับการเล่นกีตาร์ไฟฟ้า เพลงร็อค เฮฟวี่เมทัล มักจะพบคอร์ดประเภทนี้บ่อยมาก เนื่องจากให้เสียงที่หนักแน่นสะใจดี จึงมักใช้กับเพลง pop rock หรือ heavy metal เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งโครงสร้างของ power chord นั้นง่ายมากครับ ลองย้อนกลับไปดูโครงสร้างของคอร์ดประเภทเมเจอร์ในส่วนที่แล้ว จะพบว่าคอร์ดเมเจอร์ประกอบด้วยโน๊ตตัวที่ 1 3 และ 5 ของสเกล โดยที่ power chord จะตัดโน๊ตตัวที่ 3 ออกไปจึงเหลือเพีงตัวที่ 1 และ 5 เนื่องจากโน๊ตตัวที่ 3 เป็นตัวที่แสดงความเป็นเมเจอร์หรือไมเนอร์ (ถ้าโน๊ตตัวที่ 3 ติด b จะกลายเป็นคอร์ไมเนอร์ ดูรายละเอียดในเรื่องโครงสร้างคอร์ด) ดังนั้น power chord จึงไม่แสดงความเป็นเมเจอร์หรือไมเนอร์
ต่อไปเรามาดูวิธีการจับคอร์ดประเภทนี้นะครับ โดยปกติจะมีอยู่หลายแบบ คือแบบ power chord ที่โน๊ต root หรือโน๊ตตัวแรกของสเกล (ก็คือโน๊ตที่เป็นชื่อคอร์ดแหละครับ เช่น คอร์ด C โน๊ต root ก็คือ C) อยู่บนสาย 6 สาย 5 หรือสาย 4 หรือ power chord แบบจับ 2 เส้น แบบสองเส้นเปิด แบบจับ 3 เส้นและแบบ 3 เส้นเปิด ลองมาดูรายละเอียดกันครับ
สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเส้นที่เป็น root หรือโน๊ตที่เป็นชื่อคอร์ดจะแสดงด้วยรูปสี่เหลี่ยม สัญลักษณ x หมายถึงเส้นที่ไม่ต้องเล่น และ o สายเปิด เวลาดีดจะดีดเฉพาะเส้นที่กดคือ 2 - 3 สาย และรวมสายเปิดด้วย
power chord แบบจับ 2 เส้น มีประโยชน์มากเนื่องจากคุณสามารถเลื่อนฟอร์มนิ้วไปได้ตลอดทั้งฟิงเกอร์บอร์ดเพื่อเปลี่ยนคอร์โดยอาศัยหลักที่ได้รู้มาแล้วในหัวข้อเรื่อง bar chord
- แบบที่ root อยู่บนเส้นที่ 6, 5 และ 4
power chord แบบจับ 2 เส้นเปิด ซึ่ง root ของคอร์ดจะอยู่บนเส้นที่เปิดหรือไม่ได้กดนั่นเองโดยจะมีหลัก ๆ อยู่เพียง 3 คอร์ดคือ E5, A5 และ D5 (เลข 5 คือ power chord ซึ่งประกอบด้วย root หรือโน๊ตลำดับที่ 1 และโน๊ตลำดับที่ 5 ของสเกล)
- แบบที่ root อยู่บนเส้นที่ 6, 5 และ 4
power chord แบบจับ 3 เส้น เช่นเดียวกับ แบบกด 2 เส้นคุณสามารถเลื่อนฟอร์มนิ้วขึ้นลงได้ตลอดคอกีตาร์
- แบบที่ root อยู่บนเส้นที่ 6, 5 และ 4
power chord แบบจับ 3 เส้นเปิด root เป็นสายเปิด 1 สาย เช่นเดียวกับแบบ 2 สาย คือจะมีหลัก ๆ อยู่เพียง 3 คอร์ดคือ E5, A5 และ D5
- แบบที่ root อยู่บนเส้นที่ 6, 5 และ 4