ส่วนประกอบของกีตาร์


     คราวนี้เราจะมาศึกษาในด้านของส่วนประกอบต่าง ๆ ของ กีตาร์ชื่อที่ใช้เรียก และเกร็ดความรู้ เกี่ยวกับชิ้นส่วนต่าง ๆ กันครับ เวลาเรียกชื่อหรือคุยกันจะได้เรียกถูกว่าส่วนไหนคืออะไร ซึ่งโดยทั่วไปแบ่งได้ 3 ส่วนใหญ่ ๆ

        
* หมายเหตุ คุณสามารถเลื่อนเม้าส์ไปที่จุดต่าง ๆ ของรูปแล้วคลิ๊กเพื่อไปยังรายละเอียดได้


     1. ส่วนหัว ประกอบด้วย



          1.1 ชุดลูกบิด โดยทั่วไปที่เราพบเห็นก็จะมี 2 แบบ ได้แก่แบบที่ตัวลูกบิดหันไปด้านหลังตั้งฉากกับตัวกีตาร์แกนหมุนสายเป็นพลาสติกซึ่งจะใช้กับกีตาร์คลาสสิก หรือกีตาร์ฝึก(แต่จะเป็นแบบที่แกนหมุนสายเป็นเหล็กใช้กับกีตาร์ราคาไม่สูงนัก) และอีกแบบจะขนานกับตัวกีตาร์หรือแกนหมุนสายตั้งฉากกับตัวกีตาร์ซึ่งใช้กับกีตาร์โฟล์คหรือกีตาร์ไฟฟ้าทั่ว ๆ ไปที่เราเห็นนั่นเอง แต่ละบริษัทที่ผลิตลูกบิดกีตาร์นั้นจะมีระบบเป็นของตัวเองเช่นระบบล็อคกันสายคลายเวลาดีด อะไรเหล่านี้เป็นต้น
          1.2 นัท (nut) บางคนอาจเรียกว่าหย่องหรือสะพานสายบน แต่ผมจะเรียกว่านัทจะดีกว่านะครับ มันจะติดอยู่ปลายบนสุดของฟิงเกอร์บอร์ดเพื่อรองรับสายกีตาร์ให้ยกสูงจากฟิงเกอร์บอร์ด ซึ่งระยะความสูงของสายกับฟิงเกอร์บอร์ดดังกล่าวนี้เรียกว่า action มีความสำคัญมากเพราะถ้ามันตั้งความสูงไว้ไม่เหมาะสมแล้วจะทำให้การเล่นกีตาร์ลำบากมากคือถ้าระยะดังกล่าวสูงไปคุณต้องออกแรงกดสายมากขึ้นก็จะเจ็บนิ้วมากขึ้น แต่ถ้ามันตั้งไว้ต่ำไปก็จะทำให้เวลาดีดความสั่นของสายจะไปโดนเฟร็ตทำให้เกิดเสียงแปลก ๆ ออกมา

         การปรับแต่งนั้นคุณสามารถที่จะทำได้ด้วยตัวเองโดยการถอดมันออกมาและใช้ตะไบถูกับฐานของมันหรือเซาะร่องทั้ง 6 ให้ลึกลงไป(วิธีหลังผมไม่แนะนำเท่าไรเพราะถ้าคุณเซาะร่องไม่ดีจะมีผลกับเสียงกีตาร์ของคุณ)กรณีที่สูงเกินไป ตรงกันข้ามถ้าต่ำไปก็หาเศษกระดาษหนา ๆ หรือเศษไม้มารองได้นัทจนได้ความสูงที่คุณพอใจ โดยปกติประมาณ 2 มม. สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าบางรุ่น(โดยเฉพาะที่มีชุดคันโยก)มักจะมีนัทแบบที่ล็อคสายกีตาร์ได้คือจะมี 6 เหลี่ยมขันอัดให้โลหะชิ้นเล็ก ๆ ไปกดสายกีตาร์เพื่อกันสายคลายเมื่อเล่นคันโยก


     กรณีที่คุณต้องเปลี่ยนนัทเช่นมีการแตกหัก คุณจะต้องเช็คขนาดของนัทของคุณให้ดีก่อนไปซื้อเพราะนัทมีขายหลายขนาดผมเคยแล้วไปซื้อมากลายเป็นคนละขนาดต้องไปเปลี่ยนอีก แต่ถ้าเป็นกีตาร์ระดับราคาไม่สูงนักคิดว่าคงไม่มีปัญหา


     2. ส่วนคอกีตาร์ ประกอบด้วย


          2.1 คอกีตาร์ คือส่วนที่เราใช้จับคอร์ดเล่นโน๊ตต่าง ๆ มีความสำคัญมากสำหรับกีตาร์ก่อนซื้อคุณจะต้องดูให้ดีดังที่แนะนำในหัวข้อการเลือกซื้อกีตาร์ คอกีตาร์ควรจะทำมาจากไม้ มะฮอกกานี หรือไม้ ซีดา หลัการที่สำคํญที่สุดคือคอกีตาร์ต้องตรง ไม่มีรอยแตกหรือปริของเนื้อไม้

         2.2 fingerbord เป็นแผ่นไม้ที่ติดลงบนคอกีตาร์อีกชั้น เป็นตัวที่ใช้ยึดเฟร็ต หรือลวดลายมุกประดับต่าง ๆ และเราก็จะเล่นโน๊ตต่าง ๆ ของกีตาร์บนหน้าฟิงเกอร์บอร์ดนั่นเอง ไม้ที่นิยมใช้จะเป็นไม้ โรสวูด หรือไม้ อีโบนี ซึ่งมีเนื้อไม่แข็งเกินไป มีแแบที่แบนเรียบของกีตาร์คลาสสิก และกีตาร์โฟล์กับกีตาร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะโค้งเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับนิ้วเวลาทาบบนคอ

          2.3 เฟร็ต (fret) ทำมาจากโลหะฝังอยู่บนคอกีตาร์เป็นตัวที่จะกำหนดเสียงของโน็ตดนตรีจากการกดสายกีตาร์ลงบนเฟร็ตต่าง ๆ ซึ่งทำให้สายมีความสั้นยาวต่างกันไปตามการกดสายของเราว่ากดที่ช่องใดระยะสายที่เปลี่ยนไปก็คือระดดับเสียงที่เปลี่ยนไปด้วย สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือระยะระหว่างเฟร็ตแต่ละตัวต้องได้มาตรฐาน มิฉะนั้นจะทำให้เสียงเพี้ยนได้แต่เราไม่สามารถเช็คระยะดังกล่าวได้เราอาจเช็คคร่าว ๆ จากฮาโมนิคซึ่งผมได้กล่าวแล้วในเรื่องการเลือกซื้อกีตาร์ลองไปอ่านดูก็ได้ครับ จำนวนของเฟร็ตก็จะขึ้นกับความยาวของคอกีตาร์ซึ่งแต่ละผู้ผลิตก็จะต่างกันไป ปกติกีตาร์คลาสสิกจะมีประมาณ 18 ตัว กีตาร์โฟล์คประมาณ 20 ตัว แต่กีตาร์ไฟฟ้าซึ่งมักจะมีการเล่นโซโลจึงมีช่องให้เล่นโน๊ตมากขึ้นประมาณ 22-24 ตัว และกีตาร์คลาสสิกซึ่งคอกีตาร์แบนราบ เฟร็ตก็จะตรง แต่กีตาร์โฟล์คหรือกีตาร์ไฟฟ้านั้นส่วนใหญ่จะมีคอที่โค้งเล็กน้อยก็จะมีเฟร็ตที่โค้งตามไปด้วย

          2.4 มุกประดับ จุดประสงค์คือให้ใช้สังเกตตำแหน่งช่องกีตาร์ปกติจะฝังที่ช่อง (1),3,5,7,9,(10),12,14,17,19,21(ไม่แน่นอนตายตัวขึ้นกับผู้ผลิต) กีตาร์คลาสสิกจะไม่มีมุกประดับฝังบนหน้าฟิงเกอร์บอร์ดแต่จะฝังด้านข้างแทน แต่กีตาร์โฟล์คและกีตาร์ไฟฟ้าจะฝังไว้ทั้ง 2 ส่วน(บางรุ่นก็มีแต่ด้านข้าง) ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละผู้ผลิตจะออกแบบ โดยทั่วไปจะเป็นรูปวงกลม บาทีก็รูปข้าวหลามตัด หรือที่แพงหน่อยก็จะเป็นลายพวกไม้เลื้อย เลื้อยไปตามหน้าฟิงเกอร์บอร์ด

          2.5 ก้านเหล็กปรับแต่งคอ (Truss Rod) ในกีตาร์ที่อยู่ในระดับกลางขึ้นไปจะมีแท่งเหล็กฝังอยู่ตามความยาวคอกีตาร์ด้วยเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับกีตาร์ป้องกันการโก่งตัวของคอกีตาร์ ซึ่งสามารถปรับแต่งได้เมื่อคอกีตาร์เกิดโก่งงอไปแต่การปรับแต่งนั้นถ้าคุณไม่แน่ใจอย่าเสี่ยงนะครับเพราะถ้าคุณฝืนมันมากไปอาจทำให้คอกีตาร์เสียหายก็ได้ให้ผู้ที่เขาชำนาญทำดีกว่าครับ

     3. ส่วนลำตัวกีตาร์ ประกอบด้วย


          3.1 ลำตัวกีตาร์ (body) หมายถึง 3 ส่วนได้แก่ ด้านหน้า(top) ควรทำมาจากไม้ อัลพาย สปรูซ (alpine spruce) ด้านหลัง (back) และด้านข้าง (side) ควรเป็นไม้โรสวูด(rosewood) และที่สำคัญคือลักษณะของไม้ต้องไม่มีรอยแตก ไม่มีตาไม้และมีลายไม้ที่ละเอียดไปตามความยาวจึงมีคุณภาพดี ส่วนที่เว้าของ body บางทีเราก็เรียกว่าเอว

     

             การยึดโครงไม้ด้านใน(internal bracing) มีความสำคัญมากอีกเช่นกันเพราะไม้ที่ทำ body กีตาร์นั้นบางแต่ต้องรับแรงดึงที่สูงมาก ถ้าโครงยึดดังกล่าวไม่ดีหมายถึงกีตาร์คุณก็จะพังในเร็ววันแน่นอน รูปแบบการยึดจะแตกต่างกันตามเคล็ดลับของแต่ละผู้ผลิตและกีตาร์แต่ละรุ่นแต่ละประเภท โดยทั่วไปลักษณะเป็นรูปพัด (ในรูปเป็นตัวอย่างโครงยึดด้านในของกีตาร์คลาสสิก)ไม่รวมถึงกีตาร์ไฟฟ้าซึ่งเป็นทรงตัน หรือ solid body

         3.2 โพรงเสียง (sound hole) ก็คือรูกลม ๆ หรือบางทีก็ไม่กลม ที่อยู่บนด้านหน้าของ body นั่นเอง มีหน้าที่รับเสียงจากการสั่นของสายกีตาร์ทำให้เกิดเสียงก้องดังขึ้น ซึ่งอาจจะมีลายประดับต่าง ๆ อยู่รอบ ๆ โพรงเสียงเพื่อความสวยงามอีก สำหรับกีตาร์โฟล์ค หรือกีตาร์แจ๊สมักจะมีแผ่นพลาสติกติดอยู่ด้านขอบโพรงเสียงใต้สาย 1 เรียกว่า Pickgard เพื่อป้องกันการขูดขีดผิวกีตาร์จากการดีดด้วยปิ๊คหรือเล็บครับ จะพบกีต้าร์ไฟฟ้าด้วยเหมือนกันครับ ยิ่งเป็นฟลาเมนโกกีต้าจะมีติดทั้งด้านสาย 6 และด้านสาย 1 เลย เพราะลักษณะการเล่นกีตาร์ฟลาเมนโก้จะมีการดีดสบัดนิ้วมากจึงป้องกันทั้ง 2 ด้าน

 

           3.3 ปิคการ์ด (pick guard) สำหรับกีตาร์คลาสสิกซึ่งมักไม่ใช่ปิคในการเล่นจึงไม่มีปิคการ์ด แต่กีตาร์โฟล์คมักใช้ปิคเล่นจึงมีปิคการ์ดไว้ป้องกันปิคขูดกับ body กีตาร์

          3.4 สะพานสาย (bridge) เป็นตัวที่ยึดสายให้ติดกับ body มักทำมาจากไม้โรสวูดหรือไม้อีโบนี ถ้าเป็นกีตาร์คลาสสิกจะเจาะรูในแนวขนานกับ body กีตาร์ 6 รูไว้ใช้พันสายกีตาร์ แต่ถ้าเป็นกีตาร์โฟล์คจะเจาะรูในแนวตั้งฉากกับ body และยึดสายด้วยหมุดยึดสาย(pin) แต่บางรุ่นเช่นของ Ovation ไม่ใช้หมุดแต่สอดสายจากด้านล่างของบริดจ์คล้าย ๆ กับกีตาร์คลาสสิกแต่ไม่ต้องพันสายเพราะสายโลหะจะมีหมุดล็อคอยู่ที่ปลายสาย สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าจะทำจากโลหะเป็นส่วนใหญ่มีทั้งแบบธรรมดาคือมีหน้าที่ยึดสายอย่างเดียว และอีกแบบคือเป็นแบบคันโยกทั้งแบบเดิมและแบบใหม่ที่เรียกกันติดปากว่าฟรอยโรส การใส่สายจะยุ่งขึ้นมาอีกเล็กน้อย



          3.5 หย่อง (saddle) จะฝังหรือยึดอยู่กับสะพานสาย เพื่อรองรับสายกีตาร์ทั้ง 6 สาย มีทั้งแบบตรงสำหรับกีตาร์คลาสสิก และแบบโค้งสำหรับกีตาร์โฟล์ค บางแบบก็แยกเป็น 2 ชิ้นแล้วแต่การออกแบบของแต่ละรุ่น บางรุ่นสามารถปรับความสูงของตัวมันได้ แต่ทั่ว ๆ ไปถ้าเรารู้สึกว่ามันสูงไปเราก็สามารถจะถอดมาแล้วใช้ตะไบหรือกระดาษทรายขัดที่ฐานของมันให้ความสูงลดลง แต่ถ้าต่ำไปก็หาเศษไม้หรือกระดาษมาเสริมให้สูงตามความพอใจ

          3.6 ปิคอัฟ (pick up) โดยทั่วไปจะเห็นชัดบนกีตาร์ไฟฟ้ามากกว่าแต่ปัจจุบันกีตาร์โปร่งบางรุ่นก็มีการประกอบปิคอัฟไว้กับกีตาร์เลยเช่นประกอบไว้ที่ใต้บริดจ์หรือใต้หย่อง หรือเป็นปิคอัฟที่ซื้อมาประกอบต่างหากก็มี สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าจะมีความสำคัญมากเพราะมันจะรับแรงสั่นสะเทือนของสายไปแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าส่งไปยังแอมป์แล้วขยายเสียงต่อไปทำให้มนัสามารถปรับแต่งเสียงได้มากมายหลายรูปแบบแล้วแต่คุณต้องการรายละเอียดดูในอุปกรณ์เสริมสำหรับกีตาร์ได้ครับ

          3.7 ชุดคันโยก (tremolo bar) ถือว่าเป็นสเน่ห์อย่างหนึ่งของกีตาร์ไฟฟ้าเลยทีเดียวแบบเก่าที่เห็นใน fender stratocaster รุ่นเก่า ๆ   ซึ่งจะกดลงได้อย่างเดียว หรือคันโยกแบบ Bigsby ซึ่งมักพบในกีตาร์แบบ archtop หรือ semi acoustic electric ซึ่งใช้เล่นเพลงแจ๊ส หรือคันทรีเป็นต้นและปัจจุบันวงการกีตาร์ไฟฟ้าก็ได้พัฒนาไปอีกระดับกับคันโยกที่เราเรียกกันตามชื่อผู้ผลิตคือฟลอยโรสหรือคันโยกอิสระนั่นเองซึ่งสามารถโยกขึ้นลงได้อย่างอิสระช่วยให้นักกีตารืสามารถสร้างสรรค์สำเนียงดนตรีในแบบใหม่ ๆ ได้ไม่สิ้นสุด สำหรับคันโยกแบบนี้มักจะมีอุปกร์อีกตัวเพิ่มมาคือนัทแบบล็อคสายได้เพื่อช่วยป้องกันสายคลายตัวเมื่อใช้คันโยก

คันโยก Bigsby แบบต่าง ๆ

คันโยกแบบ Floyd Rose


          3.8 สวิทช์เปลี่ยนปิคอัฟ มักมีในกีตาร์ไฟฟ้าที่มีปิคอัฟหลาย ๆ ตัว เช่น 2 หรือ 3 ตัว ใช้ในการเปลี่ยนไปใช้ปิคอัฟตัวต่าง ๆ ซึ่งเสียงก็จะต่างกันไปด้วยเช่นต้องการเล่น rythym อาจใช้ตัวกลางหรือตัวบนเมื่อจะ lead ก็เปลี่ยนมาใช้ตัวล่างที่ติดกับบริดจ์เพราะให้เสียงที่แหลมกว่าเป็นต้น

          3.9 ปุ่มควบคุ่มเสียง โดยทั่วไปจะมี 2 ชุด คือชุดควบคุมความดังเบา(volume control) และชุดควบคุมเสียงทุ้มเสียงแหลม(tone control) บางทีสำหรับกีตาร์ไฟฟ้าบางรุ่นจะมีปุ่มควบคุมเสียงและ tone แยกของปิคอัฟแต่ละตัวเช่นกีตาร์ไฟฟ้าของ gibson (รุ่น SG หรือ Les Paul เป็นต้น) สำหรับกีตาร์โปร่งไฟฟ้ามักจะมีส่วนของ Equalizer เพิ่มเข้ามาด้วยสำหรับการปรับแต่งเสียงที่ละเอียดขึ้น และในกีตาร์รุ่นใหม่ ๆ เช่นของ Ovation จะมีระบบช่วยตั้งสายกีตารืรวมเข้าไปในส่วนคอนโทรลนี้ด้วย นับว่าเป็นเทคดนโลยีที่ดีช่วยนักกีตาร์ได้อย่างดีเลยครับ

          3.10 ช่องเสียบสายแจ็คไปยังแอมป์ ใช้เสียบแจ็คเพื่อต่อสายไปยังแอมป์หรือผ่านเข้ายังชุดเอฟเฟ็คต่าง ๆ ของคุณ

          3.11 ที่ใส่สายสะพายกีตาร์ ไว้ใส่สายสะพายกีตาร์เพื่อเวลาคุณยืนเล่น

     ทั้งหมดก็เป็นส่วนประกอบหลัก ๆ ของกีตาร์นะครับ ถึงตรงนี้เพื่อน ๆ คงจะรู้จักกีตาร์กันมากขึ้นแล้วนะครับ

 


กลับไปหน้าหลัก

งตรงนี้เพื่อน ๆ คงจะรู้จักกีตาร์กันมากขึ้นแล้วนะครับ

 


กลับไปหน้าหลัก