เทคนิคการใช้ Open String Scale

 

 

     เนื่องจากคราวก่อนผมได้พูดถึงเรื่องเทคนิคการเล่นกีตาร์ให้ได้สำเนียงพิณไปแล้ว คราวนี้ผมจึงอยากจะแนะนำอีกเทคนิคนึงที่ผมรู้สึกว่ามันใกล้เคียงกัน และก็มีประโยชน์มากเช่นกันคือเรื่องของการไล่สเกลด้วยการใช้สายเปิดช่วย หรือ Open String Scale

     เทคนิคนี้จะพบเห็นได้บ่อยในเพลงประเภทฟิงเกอร์สไตล์ ซึ่งผมได้รู้จักครั้งแรกจากการเห็น chet atkin เล่น (ใน vdo) ซึ่งรู้สึกว่าเค้าไล่สเกลได้เร็วมาก เลยลองมาศึกษาดู จึงเห็นว่าเค้าใช้ 2 นิ้วในการดีดสายคือนิ้วโป้งและนิ้วชี้ (ของมือขวา) โดยการดีด 2 สาย สลับกัน จึงทำให้สามารถไล่สเกลได้เร็วกว่าการดีดด้วยนิ้วเดียว

     เอาล่ะครับ ลองมาดูตัวอย่างกันเลยดีกว่าครับ ตัวอย่างจะอยู่ในคีย์ G ซึ่งเป็นคีย์ที่นิยมเล่นแบบนี้และพบมากที่สุดครับ

 

ตัวอย่างที่ 1 เป็น G Major Scale (G Ionian Mode)

         T    I      T    T    I     T     T    I        T     I     T    T     I     T    I               I     T     I     I     T    I      T    I        I     T     I     I     T     I     T

 

     จากตัวอย่างที่ 1 จะเห็นว่าจะมีการเล่นช่องที่ห่างกันมากคือ 3 และ 7 ที่ผมเห็น chet atkin เล่น เขาใช้นิ้วชี้ (กดช่อง 3) และนิ้วก้อย (กดช่อง 7) ของมือซ้ายกดสาย แต่ผมทำไม่ได้เพราะนิ้วมือเราไม่ยาวเท่าเค้า ดังนั้นเพื่อน ๆ ลองฝึกดูนะครับ ถ้าใช้ทั้ง 2 นิ้วที่ว่าได้จะช่วยให้เราไล่สเกลได้เร้วขึ้นมากเพราะไม่ต้องเคลื่อนนิ้วมาก

     แต่สำหรับผมก็จะใช้นิ้วชี้+นิ้วนางแทน แต่อาศัยเลื่อนมือให้เร็ว ๆ หน่อยครับ เพื่อน ๆ ลองศึกษาวิธีวางนิ้วที่เหมาะกับตัวเองที่สุดดู คือเมื่อเราวางนิ้วแบบนี้แล้วทำให้เราเล่นได้ง่าย คือสะดวกเรานั่นแหละครับ ไม่ต้องไปเหมือนใคร

     สำหรับตัวหนังสือ T และ I นั้นคือให้เราดีดด้วยนิ้วโป้ง (T = Thumb) และนิ้วชี้ (I = Index) แต่บางทีผมก็จะใช้นิ้วโป้ง สลับกับนิ้วกลางแทน เพื่อน ๆ ลองดูก็ได้ครับว่าถนัดแบบไหน ลองมาดูตัวอย่างต่อไปครับ

 

ตัวอย่างที่ 2 เป็น G Mixolydian Mode

         T    I     T    T    I     T     T    I        T     I     T    T     I     T    I               I     T     I     I     T    I      T    I        I     T     I     I     T     I     T

     ตัวอย่างนี้ก็จะมีลักษณะการไล่นิ้วเช่นเดียวกับตัวอย่างที่ 1 ครับ แต่เปลี่ยนสำเนียงนิดหน่อย มาดูตัวอย่างต่อไปเลยครับ

 

ตัวอย่างที่ 3 เป็น G Lydian Mode

         T    I      T    T    I     T     T    I        T     I     T    T     I     T    I               I     T     I     I     T    I      T    I        I     T     I     I     T     I     T

     ตัวอย่างนี้ก็ยังมีลักษณะการไล่นิ้วเช่นเดียวกับตัวอย่างที่ 1และ 2 ครับ แต่เปลี่ยน Mode ไป มาดูตัวอย่างต่อไปเลยครับ

 

ตัวอย่างที่ 4 เป็น G7 Scale

         T    T     I     T     T    I     T    I         I     I     T     I     I     T    I     T

 

ตัวอย่างที่ 5 เป็น G7 Scale ในแบบการไล่ลงอีกแบบ

         I     T     I     I     T     I     I     T       I     I     T     I     T

 

     ลองฝึกตัวอย่างทั้งหมดนี้ให้คล่องมือเลยนะครับ ลองศึกษาว่าจะวางนิ้วยังให้ให้เหมาะกับเรา ให้เราเล่นง่ายที่สุด ในการฝึกช่วงต้น ๆ อาจจะค่อย ๆ ไล่ไปช้า ๆ ฝึกให้นิ้วมือซ้ายและขวาสัมพันธ์กัน แล้วค่อย ๆ ฝึกให้เร็วขึ้น แล้วคุณจะพบว่าการไล่สเกลแบบนี้ก็มีสเน่ห์ไม่น้อยเลยครับ คุณสามารถดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างเป็น tabledit ได้ที่นี่ครับ หรือจะฟังเป็นไฟล์ midi ก็คลิ๊กที่นี่เลยครับ

     ในการใช้งานจริงมักจะนำไปใช้กับช่วงที่เราจะเปลี่ยนคอร์ด ช่วงส่งของเพลง เช่นจาก G มา C ในช่วงต้น หรือใช้เป็นท่อนจบของเพลงก็ได้ เพื่อน ๆ ลองฝึกแล้วลองเอาไปศึกษาประยุกต์ใช้ดูครับ สำหรับเรื่อง Scale และ Mode ให้ไปดูรายระเอียดเกี่ยวกับทฤษฎีดนตรีเบื้องต้นนะครับในครั้งนี้คงเอาพอหอมปากหอมคอก่อนนะครับ เนื่องจากตลอดทั้ง อาทิตย์มาคอมฯ มีปัญหาตลอดเลยไม่ได้อัปเดท พอใช้ได้ปุ๊บก็เลยทำเรื่องนี้ปั๊บเลยครับ เวลาผมไม่ค่อยมี เลยเอาเรื่องสั้น ๆ มาลงให้ฝึกกันพอสนุก ๆ ครับ ขอให้สนุกกับการเล่นกีตาร์ทุก ๆ ท่านครับ

 

กลับไปหน้าหลัก