หัวข้อที่แล้วเราได้รู้จักกับเมเจอร์สเกลกันไปแล้วต่อไปเรามารู้จักกับสเกลที่สำคัญอีกตัวนึงคือไมเนอร์สเกลซึ่งสามารถแบ่งได้อีก 3 สเกล ได้แก่
- Natural Minor Scale หรือ Relative Minor
- Harmonic Minor Scale
- Melodic Minor Scale
ทั้ง 3 แบบนั้นมีโครงสร้างอย่างไร แตกต่างกันอย่างไรเดี๋ยวเราจะมารู้จักกับมันครับ
5.1 Natural Minor Scale หรือ Relative Minor
Natural Minor Scale มีความสัมพันธ์กับ Major Scale ดังที่ได้พูดไว้ในตอนต้นแล้วนั่นคือ ถ้านำโน๊ตลำดับที่ 6 ของ สเกลเมเจอร์มาขึ้นเป็นตัวแรกแล้วเรียงตัวอื่นตามก็จะได้เป็นสเกลไมเนอร์ ดังเช่นสเกล C เมเจอร์ เมื่อนำโน๊ตลำดับที่ 6 คือ A มาเป็นตัวแรกของสเกลแล้วเรียงตัวอื่นตามสเกลเมอเจอร์ เราก็จะได้สเกล A ไมเนอร์ (หรือ C Aeolian Mode นั่นเอง)
C major scale | C |
D |
E |
F |
G |
A |
B |
A minor scale | A |
B |
C |
D |
E |
F |
G |
หรือถ้าเป็น A เมเจอร์สเกล นำโน๊ตลำดับที่ 6 ของสเกลมาเป็นตัวขึ้นต้นคือ F# (สเกล A เมเจอร์ ติด # 3 ตัวคือ C# , G# และ F#) จากนั้นเรียงโน๊ตตัวอื่นตามสเกล ก็จะได้สเกล F# ไมเนอร์ ( A Aeolian Mode)
A major scale |
A |
B |
C# |
D |
E |
F# |
G# |
F# minor scale |
F# |
G# |
A |
B |
C# |
D |
E |
ด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง สเกลเมเจอร์และสเกลเนเจอรัล ไมเนอร์ดังกล่าวนี้ บางครั้งเราจึงเรียกสเกลเนเจอรัล ไมเนอร์ ว่า รีเลทีพ ไมเนอร์ (Relative Minor) หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่าทุกเมเจอร์สเกลจะมี ไมเนอร์สเกลที่สัมพันธ์กันอยู่ซึ่งประกอบด้วยโน๊ตชุดเดียวกันแต่เริ่มที่โน๊ตตัวที่ 6 ของเมเจอร์สเกล ซึ่งก็คือโหมดที่ 6 (Aeolian Mode) ของเมเจอร์สเกลนั่นเอง เอาล่ะครับคราวนี้เราลองมาดูโครงสร้างของเนเจอรัล ไมเนอร์สเกลอย่างเป็นทางการนะครับ
สูตรโน๊ตในสเกลของ Natural Minor Scale (Relative Minor) ต่าง ๆ
สเกล |
สูตร/โน๊ตในสเกล |
||||||||
เมเจอร์ |
รีเลทีพไมเนอร์ |
1 |
2 |
b3 |
4 |
5 |
b6 |
b7 |
8 |
C |
A |
A |
B |
C |
D |
E |
F |
G |
A |
D |
B |
B |
C# |
D |
E |
F# |
G |
A |
B |
E |
C# |
C# |
D# |
E |
F# |
G# |
A |
B |
C# |
F |
D |
D |
E |
F |
G |
A |
Bb |
C |
D |
G |
E |
E |
F# |
G |
A |
B |
C |
D |
E |
A |
F# |
F# |
G# |
A |
B |
C# |
D |
E |
F# |
B |
G# |
G# |
A# |
B |
C# |
D# |
E |
F# |
G# |
Mode ต่าง ๆ ของ Natural Minor Scale
Mode |
สูตรโครงสร้างสเกล |
ตัวอย่างระบบโน๊ต |
Mode 1 (Aeolian Mode) | 1 2 b3 4 5 b6 b7 | |
Mode 2 | 1 b2 b3 4 b5 b6 b7 | |
Mode 3 | 1 2 3 4 5 6 7 | |
Mode 4 | 1 2 b3 4 5 6 b7 | |
Mode 5 | 1 b2 b3 4 5 b6 b7 | |
Mode 6 | 1 2 3 #4 5 6 7 | |
Mode 7 | 1 2 3 4 5 6 b7 |
คราวนี้เรามาลองสังเกตกันนิดนึงว่า สเกล natural minor มันมีความสัมพันธ์กันอยู่กับสเกลเมเจอร์ ดังนั้น mode ต่าง ๆ ของสเกล natural minor ก็น่าจะมีความสัมพันธ์กับ mode ต่าง ๆ ของสเกลเมเจอร์ด้วยใช่ไหมครับ (สเกล natural minor คือ mode ที่ 6 หรือ aeolian mode ของสเกลเมเจอร์) ผมจะสรุปความสัมพันธ์เป็นตารางง่าย ๆ นะครับ
Natural
Minor |
เทียบเท่ากับ
Mode ใน Major Scale |
Mode
1 |
Aeolian
Mode |
Mode
2 |
Locrian
Mode |
Mode
3 |
Ionian
Mode |
Mode
4 |
Dorian
Mode |
Mode
5 |
Phrygian
Mode |
Mode
6 |
Lydian
Mode |
Mode
7 |
Mixolydian
Mode |
ซึ่งแต่ละ mode ผมคงจะไม่พูดรายละเอียดแล้วนะครับ ยังไงก็ลองกลับไปดูเรื่อง Mode ได้ครับ เราสามารถจัดโน๊ตของแต่ละโหมดลงบนฟิงเกอร์บอร์ดได้ดังนี้ครับ
สเกล ฮาร์โมนิค ไมเนอร์ เป็นอีกสเกลที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งอาศัยโคร้งสร้างเดิมของสเกล เนเจอรัลไมเนอร์ทุกอย่าง ซึ่งสร้างได้โดยการเติมแฟล็ท(b)เข้าไปที่โน๊ตตัวที่ 3 และ 6 ของเมเจอร์สเกล หรือว่าใส่ชาร์ป(#) ที่โน๊ตตัวที่ 7 ของ natural minor scale นะครับ ซึ่งเป็นการแก้ลำดับที่ 5 ของเนเจอรัลไมเนอร์สเกลจากเสียงไมเนอร์ให้เป็นโดมิแนนเซเว่นหรือเมเจอร์ไทรแอด ดังนั้นจะได้สเกลฮาร์โมนิคไมเนอร์ดังนี้
คราวนี้ลองมาดูโหมดต่าง ๆ ของฮาร์โมนิคไมเนอร์สเกลกันดูบ้างนะครับ อิงจาก C เมเจอร์สเกลนะครับ ซึ่งก็อาศัยหลักการเดียวกับการสร้างโหมดในสเกลอื่น ๆ เช่นกัน ได้แก่
Mode |
สูตรโครงสร้างสเกล |
ตัวอย่างระบบโน๊ต |
Mode 1 (Harmonic Minor Scale) | 1 2 b3 4 5 b6 7 | |
Mode 2 | 1 b2 b3 4 b5 6 b7 | |
Mode 3 | 1 2 3 4 #5 6 7 | |
Mode 4 | 1 2 b3 #4 5 6 b7 | |
Mode 5 | 1 b2 3 4 5 b6 b7 | |
Mode 6 | 1 #2 3 #4 5 6 7 | |
Mode 7 | 1 b2 b3 b4 b5 b6 bb7 |
หรือสามารถจัดรูปการวางนิ้วบนคอกีตาร์ได้ในแต่ละโหมดดังนี้
เมโลดิกไมเนอร์ก็เป็นสเกลไมเนอร์อีกแบบหนึ่งที่ถูกคิดค้นในเพลงของทางยุโรปในยุคต้น ๆ เพื่อแก้ปัญหาความไมสละสลวยของขั้นคู่ augmented 2nd ของโน๊ตตัวที่ 6 และ 7 ในสเกลฮาร์โมนิคไมเนอร์ ด้วยการใส่เครื่องหมาย # เพื่อยกเสียงโน๊ตตัวที่ 6 มาอีกครึ่งเสียง ซึ่งก้สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ขอ้สังเกตอย่างนึงในการไล่สเกลเมดลดิกไมเนอร์คือมักจะไล่ขึ้นด้วยเมโลดิกไมเนอรืแต่ขาไล่ลงมักจะใช้เนเจอรัลไมเนอร์ธรรมดา รูปของสเกลเป็นดังนี้ครับ
เช่นเดียวกับสเกลอื่น ๆ เราสามารถจัดโหมดต่าง ๆ ของเมโลดิกไมเนอร์สเกลได้เช่นกัน(สำหรับขาขึ้นนะครับ) และแต่ละโหมดจะมีชื่อเรียกเฉพาะด้วยครับ ดังนี้
Mode | ชื่อของโหมด | สูตรโครงสร้างสเกล | ตัวอย่างระบบโน๊ต |
---|---|---|---|
Mode 1 | Melodic Minor Scale | 1 2 b3 4 5 6 7 | |
Mode 2 | Dorian b2 Scale | 1 b2 b3 4 5 6 b7 | |
Mode 3 | Lydian Augmented Scale | 1 2 3 #4 #5 6 7 | |
Mode 4 | Lydian b7 Scale (Overtone) | 1 2 3 #4 5 6 b7 | |
Mode 5 | Mixolydian b6 Scale | 1 2 3 4 5 b6 b7 | |
Mode 6 | Locrian #2 Scale | 1 2 b3 4 b5 b6 b7 | |
Mode 7 | Super Locrian Scale | 1 b2 b3 b4 b5 b6 b7 |
หรือสามารถจัดรูปการวางนิ้วบนคอกีตาร์ได้ในแต่ละโหมดดังนี้
ครับสำหรับเรื่องสเกลไมเนอร์และโหมดคงจะหมดแค่นี้นะครับ ในส่วนต่อไปเราคงไปศึกษาในสเกลอื่น ๆ กันบ้างนะครับได้แก่ Diminished Scale, Augmented Scale, Pentatonic Scale, Blue Scale และ scale ประเภทอื่น ๆ ที่น่าสนใจครับ
กลับไปหน้าที่แล้ว กลับไปหน้าหลัก ไปหน้าต่อไป