ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้นสำหรับกีตาร์ว่าด้วย Scale และ Mode

 

8. Pentatonic Scale And Mode

           สเกลนี้เป็นที่นิยมมากในเพลงคันทรี และเพลงร็อคแอนโรลตั้งแต่ยุค 50's แม้กระทั่งปัจจุบันก็ยังใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในเพลงแนวเฮฟวี่เมทัล ซึ่งสเกล pentatonic นั้นประกอบด้วยโน๊ตในสเกลเพียง 5 ตัว (penta แปลว่า 5 tonic แปลว่าเสียง) โดยการตัดโน๊ตตัวที่ 4 และ 7 ในสเกลเมอเจอร์ ลองเปรียบเมเจอร์สเกลและเพนตาโทนิคสเกลดูครับ

cmaj.gif (2985 bytes)

majpenta.gif (1109 bytes)

            นอกจากนี้เราสมารถจัด เพนตาโทนิค สเกล ในรูปโหมดต่าง ๆ ได้ 5 โหมดนะครับ ได้แก่

 

Mode 1
1
2
3
5
6
Mode 2
1
2
4
5
b7
Mode 3
1
b3
4
#5
b7
Mode 4
1
2
4
5
6
Mode 5
1
b3
4
5
b7

 

            หรือจัดเป็นแพทเทิร์นได้ดังนี้ครับ

 

mapent1.gif (1790 bytes)
mapent2.gif (1820 bytes)
mapent3.gif (1816 bytes)
mapent4.gif (1798 bytes)
mapent5.gif (1816 bytes)

 

9. Minor Pentatonic Scale And Mode

             เป็นอีกเพนตาโทนิคสเกลอีกแบบที่นิยมใช้กันมาก ทั้งในเพลงป๊อป ร็อค หรือเพลงบลูส์ ดังนั้นอาจเป็นสเกลที่นักกีตาร์บางคนจะรู้จักก่อนเมเจอร์สเกลด้วยซ้ำ โครงสร้างของสเกลนี้ก็เช่นเดียวกับเพนตาโทนิคคือมี 5 โน๊ตเหมือนกันต่างกันที่เสียงของโน๊ตโครงสร้างของ ไมเนอร์เพนตาโทนิคสเกลได้แก่

minpenta.gif (1174 bytes)

            เช่นเดียวกันเราสามารถจัดโหมดต่าง ๆ ของไมเนอร์เพนตาโทนิค ได้ 5 รูปแบบ ได้แก่

Mode 1
1
b3
4
5
b7
Mode 2
1
2
3
5
6
Mode 3
1
2
4
5
b7
Mode 4
1
b3
4
#5
b7
Mode 5
1
2
4
5
6

            และจัดเป็นแพทเทิร์นได้ดังนี้

mipent1.gif (1809 bytes)
mipent2.gif (1788 bytes)
mipent3.gif (1823 bytes)
mipent4.gif (1813 bytes)
mipent5.gif (1805 bytes)

 

10. Blue Scale And Mode

bigblusc.gif (3179 bytes)

            blue สเกลได้จากไมเนอร์เพนตาโทนิคสเกลโดยเพิ่มโน็ต b5 ของสเกลเมเจอร์เข้าไป ซึ่งโน๊ตที่ใส่เพิ่มลงไปนี้เรียกว่า blue note หรือ passing note หรือโน๊ตผ่าน ซึ่งจะใช้ช่วยเสริมให้สเกลมีเสียงที่แตกต่างออกไปจากไมเนอร์เพนตาโทนิค ซึ่งมักจะไม่ใช้โน๊ตตัวนี้เป็นตัวจบในเพลง เพียงแต่ใช่เป็นตัวเชื่อมระหว่างโน๊ตในการเล่นเท่านั้น สเกลนี้มีประโยชน์อย่างมากมักใช้ในเพลงร็อคหรือบลูส์ โครงสร้างของบลูส์สเกลคือ

bluscale.gif (1122 bytes)

            คราวนี้มาดูโหมดต่าง ๆ ของบลูส์สเกลบ้างนะครับ ซึ่งประกอบด้วย 5 โหมด ได้แก่

Mode 1
1
b3
4
5
b7
Mode 2
1
2
3
5
6
Mode 3
1
2
4
5
b7
Mode 4
1
b3
4
#5
b7
Mode 5
1
2
4
5
6

            หรือจัดเป็นแพทเทิร์นได้ดังนี้นะครับ

blusscl1.gif (1888 bytes)
blusscl2.gif (1828 bytes)
blusscl3.gif (1909 bytes)
blusscl4.gif (1862 bytes)
blusscl5.gif (1839 bytes)

 

            คราวนี้เพื่อน ๆ ก็ได้รู้จักสเกลเพิ่มอีก 3 สเกลในส่วนนี้ซึ่งมีความสำคัญทั้ง 3 สเกลเลยนะครับ โดยเฉพาะผู้ที่สนใจเพลงแนวคันทรี บลูส์หรือร็อค น่าจะศึกษาสเกลเหล่านี้ให้มาก ๆ ครับ

            สเกลหลัก ๆ ที่สำคัญ ๆ คงจะหมดแค่นี้ซึ่งผมก็ได้พยายามแนะนำรายละเอียดของสเกลต่าง ๆ พอสมควร แต่ก็คงไม่ลงลึกมากเพราะถ้าให้ผมลงลึกมากกว่านี้คงต้องให้ผมไปเรียนก่อนครับ ก็เอาแค่พอรู้จักคร่าว ๆ นะครับ ถ้าใครสนใจก็อาจไปหาหนังสืออ่านเพิ่มเติมหรือถ้ามีโอกาสไปเรียนได้เลยก็ยิ่งดีครับ ในส่วนต่อไปผมคงจะแนะนำเรื่องสเกลประเภทอื่น ๆ บ้างนะครับไว้ประดับความรู้หรืออาจจะเอามาประยุกต์ใช้เองก็ได้ครับ

 

กลับไปหน้าที่แล้ว           กลับไปหน้าหลัก           ไปหน้าต่อไป